Skip to content

Cloudflare 101 : คลาวด์แฟลร์ คืออะไร ทำไมคนมีเว็บไซต์ควรมี

มาต่อกันในซีรีย์การปรับเว็บไซต์ให้เร็วขึ้น อย่างที่ผมแอบบอกในบทความการตั้งค่า WP Rocket ว่าผมใช้ คลาวด์แฟลร์ (Cloudflare) ในฐานะที่เป็น CDN (Content Delivery Network) เพื่อปรับเว็บไซต์ให้เร็วขึ้น ซึ่งนอกจากเรื่องความเร็วแล้ว มันยังมาพร้อมกับความสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ได้ด้วย เหมาะมากกับคนที่มีเว็บไซต์ หรือกำลังคิดจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แล้วอยากได้ทั้งเรื่องความเร็วและความปลอดภัยไปพร้อมกัน

เพราะงั้นวันนี้ ผมจะพาเพื่อน ๆ มารู้จักกับ Cloudflare ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร กับจะพามาดู วิธีสมัครใช้งาน Cloudflare แบบละเอียด ที่เพื่อน ๆ สามารถเปิดคอม/จับเมาส์ทำตามได้เลย พร้อมกับแจกสไลด์ PDF ให้ดาวน์โหลดวิธีเก็บไว้ทำตามภายหลังได้ด้วย! ไปดูกัน!

Cloudflare คืออะไร?

คลาวด์แฟลร์ (Cloudflare) คือ ผู้ให้บริการระบบเครือข่าย ซึ่งในปัจจุบัน Cloudflare มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยความที่เครือข่ายเยอะที่สุด ทำให้ Cloudflare โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมากกับบริการด้าน CDN (Content Delivery Network) สำหรับเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

Cloudflare คืออะไร
Cloudflare คืออะไร
เว็บไซต์หลักของ คลาวด์แฟลร์ (Cloudflare)
เว็บไซต์หลักของ คลาวด์แฟลร์ (Cloudflare)

คำต่อมา CDN (Content Delivery Network) คืออะไร?

คำอธิบายแบบไม่เป็นทางการ

CDN คือ “ตัวช่วยกระจายคอนเทนต์” ไปยังที่ต่าง ๆ รอบโลกภายในเวลาอันรวดเร็วและใช้ทรัพยากรเราให้น้อยที่สุด

คำอธิบายแบบกึ่งทางการ

CDN (Content Delivery Network) คือ ชื่อเรียกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ทำหน้าที่รวบรวมและกระจายคอนเทนต์บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อ ไปยังที่ต่าง ๆ ในเครือข่ายที่เข้าร่วม

หลักการเบื้องต้นของ CDN (Content Delivery Network) คือ

  1. รวบรวมคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ ข้อความ วิดีโอ ฯลฯ บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของเรา
  2. จัดเก็บคอนเทนต์ของเราในลักษณะ แคชไฟล์ (Cache file) บนคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่มีอยู่รอบโลก
  3. กระจายแคชไฟล์ (Cache file) เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของเราออกไปยังจุดต่าง ๆ ที่ถูกร้องขอทั่วโลก
การทำงานของ CDN Cloudflare จากเว็บไซต์ cloudflare.com
การทำงานของ CDN Cloudflare จากเว็บไซต์ cloudflare.com

สิ่งแรกที่เกิดขึ้น คือ ความรวดเร็วในการแสดงผล เพราะคอนเทนต์ของเรานั้น ถูกกระจายไว้รอบโลกแล้ว เมื่อมีการเรียกดูเกิดขึ้น ระบบก็สามารถส่งข้อมูลจากจุดที่ใกล้ที่สุดไปยังผู้ใช้ได้เลย

เช่น ผู้ชมเว็บไซต์ iamsnkrs.com เรียกกดูเว็บเราจากประเทศญี่ปุ่น ระบบก็จะเรียกใช้แคชไฟล์ (Cache file) จากเครื่องเครือข่ายญี่ปุ่น หรือถ้าไม่มี ก็จะเรียกหาจากจุดที่ใกล้ที่สุดแทน ไม่ต้องเรียกข้อมูลข้ามน้ำข้ามทะเลจากไทยไป

สิ่งที่สอง คือ ไม่กินทรัพยากรเครื่องเซอร์เวอร์หลักที่เราใช้ ด้วยในการแสดงผลคอนเทนต์ (ไปกินของเครื่องเครือข่าย CDN แทน)

สำหรับใครที่อยากอ่านเรื่อง CDN เพิ่มเติม แนะนำให้อ่าน ทำความรู้จักกับ Content Delivery Network แบบ Next-generation โดย Akamai จากเว็บไซต์ TechTalk Thai https://www.techtalkthai.com/akamai-next-generation-content-delivery-network/

ข้อดีของ Cloudflare ที่ผมก็แนะนำให้ใช้

อย่างที่ผมบอกไปในบทความ การตั้งค่า WP Rocket ข้อดีอย่างแรกเลย คือ มีเวอร์ชันฟรี ซึ่งถ้าเว็บไซต์ของเพื่อน ๆ เป็นเว็บส่วนตัว เว็บแสดงผลงาน (อย่างของเรา) Cloudflare เวอร์ชันฟรี เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นเชิงธุรกิจ เกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมาก อันนี้แนะนำให้อัปเกรดไปใช้แบบเสียเงินแทน

สรุปข้อดีหลัก ๆ ของ Cloudflare คือ

  • เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น
  • ลดการใช้ทรัพยากรเครื่องเว็บเซอร์เวอร์ที่เราใช้อยู่
  • ลดอัตราการเกิดเว็บไซต์ล่ม
  • เพิ่มความปลอดภัยให้เว็บไซต์
  • มีเวอร์ชันฟรี (ฮ่า ๆ)
ข้อดีของการใช้ Cloudflare บนเว็บไซต์
ข้อดีของการใช้ Cloudflare บนเว็บไซต์

อยากใช้ Cloudflare ต้องทำยังไง?

อย่างแรกเลย คือ ต้องมีเว็บไซต์และโดเมน เป็นของตัวเอง เพราะถ้าไม่มีสองสิ่งนี้ตั้งแต่แรก เพื่อน ๆ จะไม่สามารถใช้ Cloudflare ได้เลยครับ ซึ่งผมสรุปมาให้เป็นข้อ ๆ แบบนี้จะได้ดูง่ายขึ้น

สิ่งที่ต้องใช้

  • โดเมน (Domain) ต้องเป็นเจ้าของ/ผู้ดูแลโดเมน และต้องมีสิทธิ์ในระบบจัดการโดเมนด้วย
  • อีเมล (Email) เพื่อใช้ในการสมัครและยืนยัน
  • ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) Cloudflare ต้องใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเท่านั้นถึงจะใช้ได้
สรุปสิ่งที่ต้องทำและสิ่งที่ต้องใช้ใน Cloudflare
สรุปสิ่งที่ต้องทำและสิ่งที่ต้องใช้ใน Cloudflare

ขั้นตอนการเริ่มใช้ Cloudflare แบบละเอียด ทำตามได้

1 ไปที่เว็บไซต์ www.cloudflare.com แล้วคลิกที่ลิงก์ข้อความ Sign Up หรือ https://dash.cloudflare.com/sign-up

เว็บไซต์หลักของ คลาวด์แฟลร์ (Cloudflare)
เว็บไซต์หลักของ คลาวด์แฟลร์ (Cloudflare)
สมัครปุ่มสมาชิกใหม่ของ Cloudflare
สมัครปุ่มสมาชิกใหม่ของ Cloudflare

2 ระบุ อีเมลและพาสเวิร์ด ที่ต้องการใช้งาน และเลือก Create Account

  • อีเมลที่ใช้สมัครครั้งแรกจะได้สิทธิ์สูงสุดในการจัดการระบบ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้ เช่น การเพิ่มผู้ดูแลระบบ การกำหนดสิทธิ์ผู้ดูแลระบบ (กรณีมีผู้ดูแลมากกว่า 1 บัญชี)
กรอกอีเมลและพาสเวิร์ดที่ต้องการ
กรอกอีเมลและพาสเวิร์ดที่ต้องการ

3 เลือกประเภทบริการที่เราต้องการใช้ ในที่นี่เราต้องการนำมา ใช้งานกับเว็บไซต์ ดังนั้นเลือก Cloudflare for infrastructure

เลือก Cloudflare for infrastructure สำหรับการใช้งานสำหรับเว็บไซต์ทั่วไป
เลือก Cloudflare for infrastructure สำหรับการใช้งานสำหรับเว็บไซต์ทั่วไป

4 ระบุ โดเมน(Domain) ที่เราต้องการใช้งาน Cloudflare แล้วคลิกปุ่ม Add site โดยมีเงื่อนไข คือ

  • โดเมนที่ใช้ ต้องมีการสั่งซื้อ/ลงทะเบียนจริงเรียบร้อยแล้ว
  • โดเมนที่ใช้ ต้องเป็นโดเมนที่เราถือสิทธิ์การเป็นเจ้าของ หรือถือสิทธิ์ผู้ดูแลโดเมนโดยตรง
 ระบุโดเมน(Domain) ที่เราต้องการใช้กับ Cloudflare
ระบุโดเมน(Domain) ที่เราต้องการใช้กับ Cloudflare

5 รอสักครู่ให้ระบบค้นหาโดเมน และรายละเอียดการตั้งค่าโดเมนที่เราตั้งไว้ (ถ้ามี)

  • หากต้องการ ตั้งค่าเพิ่มเติม เราสามารถทำได้จากขั้นนี้ได้เลย
  • หากต้องการ ตั้งภายหลัง ให้คลิกปุ่ม Continue ที่มุมล่างซ้าย และกดปุ่ม Confirm เพื่อยืนยันการข้ามขั้นตอนนี้ไปก่อน ดังภาพ
กรณีต้องการตั้งค่าภายในของโดเมนภายหลัง
กรณีต้องการตั้งค่าภายในของโดเมนภายหลัง

6 เราจะมาเจอกับหน้า เปลี่ยนเนมเซอร์เวอร์ (Change your nameservers) ซึ่งเป็นการย้ายระบบจัดการโดเมนจากระบบเดิม ให้มาจัดการด้วย Cloudflare แทน

ข้อดีของการทำแบบนี้ คือ

  • ลดความยุ่งยากด้านการจัดการโดเมนของระบบเดิม
  • เพิ่มผู้จัดการบัญชีได้หลายคน และกำหนดสิทธิ์เพิ่มเติมได้
  • ใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ใน Cloudflare ได้เต็มประสิทธิภาพ
หน้าจอคำแนะนำเปลี่ยนเนมเซอร์เวอร์ (Change your nameservers) มาที่ Cloudflare
หน้าจอคำแนะนำเปลี่ยนเนมเซอร์เวอร์ (Change your nameservers)

7 สิ่งที่เราต้องดำเนินการต่อไป คือ

  • ลบ Nameserver ระบบจัดการเดิม ออก จากคำแนะนำ (3)
  • เพิ่ม Nameserver ของ Cloudflare เข้าไปแทน จากคำแนะนำ (4)

ดังนั้น เราต้องเข้าระบบจัดการโดเมนเดิม เพื่อเข้าไปลบ/เพิ่ม Nameserver (นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราต้องเป็นเจ้าของหรือถือสิทธิ์ผู้ดูแลโดเมน)

เนมเซอร์เวอร์ (nameservers) ที่เราต้องลบและเพิ่ม เพื่อย้ายมาจัดการด้วย Cloudflare
เนมเซอร์เวอร์ (nameservers) ที่เราต้องลบและเพิ่ม เพื่อย้ายมาจัดการด้วย Cloudflare
ตัวอย่าง เนมเซอร์เวอร์ (nameservers) ก่อนเปลี่ยน
ตัวอย่าง เนมเซอร์เวอร์ (nameservers) ก่อนเปลี่ยน
ตัวอย่าง เนมเซอร์เวอร์ (nameservers) ใหม่ของ Cloudflare
ตัวอย่าง เนมเซอร์เวอร์ (nameservers) ใหม่

8 หลังจากลบ/แก้ไข Nameserver ของระบบเก่าเรียบร้อยแล้ว ให้ปุ่ม Check Nameserver ด้านล่างหน้าจอ จากนั้นรอให้ระบบตรวจสอบการย้ายมาที่ Cloudflare

ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการโดเมนแต่ละเจ้า

ข้อความหลังกดปุ่ม Check Nameserver
ข้อความหลังกดปุ่ม Check Nameserver

เสร็จเรียบร้อย

หากการย้ายมาที่ Cloudflare เสร็จสมบูรณ์ เราจะพบข้อความ “…Great news! Cloudflare is now protecting your site…” ดังภาพ

ข้อความแสดงผลการย้ายมาที่ Cloudflare เสร็จสมบูรณ์
ข้อความแสดงผลการย้ายมาที่ Cloudflare เสร็จสมบูรณ์

จากนี้ เราสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมโดยใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ และจัดการโดเมนผ่าน Cloudflare ได้เลย (ยกเว้นการต่ออายุนะครับ – เราแค่ย้ายระบบจัดการเฉย ๆ)

ใครลองทำแล้วติดปัญหาตรงไหน หรือมีวิธีที่เวิร์คกว่า มาแชร์กันได้นะครับ แล้วไว้บทความหน้าผมจะมาเขียนวิธีตั้งค่า Cloudflare เพิ่มเติมสำหรับคำมีเว็บไซต์กันนะครับ 🙂

web form email creators content hubspot-form-creator-content

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดิจิทัลมิลเลนเนียม (DMCA :Digital Millennium Copyright Act)

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ไม่อนุญาตให้แก้ไข ทำซ้ำ ดัดแปลง ส่วนหนึ่งส่วนใดในเนื้อหา บทความ/บทวิเคราะห์ รูปภาพ วิดีโอ และ/หรือสื่ออื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ http://ipthailand.go.th/th/gi-011/item/คำถาม-ตอบ-สำหรับการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์.html

IAMSNKRS ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า และอ่านนโยบายเว็บไซต์ของเราเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน facebook

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน twitter

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

Save