Skip to content

Content Pyramid วิธีทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงที่เราใช้ (ง่ายและดีต่อ SEO)

แนวคิดทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยง เป็นชื่อเรียกแบบไม่เป็นทางการที่ผมใช้เรียกเอง มันเป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดของ Content Repurposing และกลยุทธ์ Sales Funnel เข้าด้วยกัน โดยนำมาวาดเป็น “คอนเทนต์พีระมิด (Content Pyramid)” เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจการทำงานง่ายขึ้น

แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องวิธีการทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงและการเขียนคอนเทนต์พีระมิด เรามาทำความเข้าใจกับ Content Repurposing และ Sales Funnel กันแบบคร่าว ๆ ก่อนนะครับ จะว่าไปเรื่องนี้ Content Creator ก็ควรจะเรียนรู้ไว้เหมือนกันฮะ เผื่อเราต้องคุยงานกับ Marketing จะได้พอคุยต่อได้

Content Pyramid คืออะไร?

Content Pyramid เป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดของ Content Repurposing และกลยุทธ์ Sales Funnel เข้าด้วยกัน โดยนำมาวาดเป็นพีระมิด เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจการทำงาน และช่วยให้ทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงง่ายขึ้น แถมดีต่อ SEO

ตัวอย่างการเขียน Content Pyramid ของ ahrefs
ตัวอย่างการเขียน Content Pyramid ของ ahrefs

Content Repurposing คืออะไร?

Content Repurposing คือ การนำคอนเทนต์ที่มีอยู่แล้วกลับมาทำใหม่ โดยใช้วิธีการที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของคอนเทนต์ที่จะทำ เป็นอีกหนึ่งคำศัพท์นึงที่ใช้บ่อยในวงการการตลาดดิจิทัลและการทำคอนเทนต์ที่ Content Creator ควรรู้

สำหรับแนวคิดการทำ Content Repurposing มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แตกต่างกันไปตามกลยุทธ์การทำคอนเทนต์แต่ละคน สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับแนวคิด Content Repurposing ของ ContentShifu.com นะครับ แล้วเพื่อน ๆ จะเห็นภาพมากขึ้น

Sales Funnel คืออะไร?

Sales Funnel คือ คำศัพท์แบบกว้าง ๆ ที่ใช้เรียกแนวคิดทางการตลาด ที่นิยมใช้อธิบายลำดับชั้นตอน กระบวนการการซื้อสินค้า/บริการ เรามักจะเห็นการเขียนอธิบาย Sales Funnel ด้วยภาพพีระมิดทรงคว่ำ ภาพทรงกรวย ในแต่ละชั้นจะมีคำอธิบายที่แตกต่างกันไป

สำหรับแนวคิดการทำ Sales Funnel ถ้าใครอยากเรียนรู้เพิ่มเติม แนะนำให้อ่าบทความ SALES FUNNEL ของคุณณัฐพัชญ์ จาก nuttaputch.com และ Digital Marketing Framework จาก ContentShifu.com

เอาล่ะ เชื่อว่าเพื่อน ๆ น่าจะพอเข้าใจหลักการของ Content Repurposing และ Sales Funnel เบื้องต้นแล้ว ทีนี้เราจะมาเริ่มประยุกต์หลักการทั้งสองอย่างมาเขียนเป็น “คอนเทนต์พีระมิด (Content Pyramid)” กัน ด้านล่างนี้ จะเป็นตัวอย่าง Content Pyramid ของ ahrefs ที่เค้าใช้ในการทำคอนเทนต์ และตัวอย่าง Content Pyramid ของ I Am Sneakers (ของเราเอง) ที่ใช้อยู่

ตัวอย่างการเขียน Content Pyramid ของ ahrefs
ตัวอย่างการเขียน Content Pyramid ของ ahrefs

ส่วนด้านล่างนี้จะเป็น Content Pyramid ของเรา I Am Sneakers เอง และใช้งานอยู่จริง ๆ ณ ปัจจุบันเลย เผื่อเพื่อน ๆ จะเห็นภาพและนำไปเขียนของตัวเองได้

ตัวอย่างการเขียน Content Pyramid ของ I Am Sneakers
ตัวอย่างการเขียน Content Pyramid ของ I Am Sneakers

และคอนเทนต์พีระมิดอันนี้ผมเคยนำไปประยุกต์ใช้ตอนแข่งขัน TMRW Creators Camp จนผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายและได้ลงคอลัมน์พิเศษใน a day : Content Creator ด้วย เผื่อใครสนใจว่าผมเริ่มจริงจังกับสาย คอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) ได้ยังไง ตามไปอ่านได้จากบทความนี้ฮะ

How to เริ่มต้นเป็น Content Creator จากประสบการณ์เรา
How to เริ่มต้นเป็น Content Creator จากประสบการณ์เรา

สิ่งที่ควรทำก่อนเขียน Content Pyramid

อย่างที่ผมเกริ่นไว้ว่า เราใช้แนวคิด Content Repurposing และ Sales Funnel ในการเขียน Content Pyramid เพราะงั้นสิ่งแรกที่ Content Creator ควรทำก่อน คือ

  1. ลิสต์รูปแบบคอนเทนต์ที่เราทำ : เพื่อให้รู้ว่าคอนเทนต์ไหนเป็นคอนเทนต์หลัก คอนเทนต์ไหนเป็นรองของเรา
  2. ลิสต์แพลตฟอร์มที่เราใช้ : เพื่อให้รู้ว่าเราควรโฟกัสที่แพลตฟอร์มไหนเป็นอันดับแรก แพลตฟอร์มไหนจะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงคอนเทนต์เข้าด้วยกัน
ตัวอย่างลิสต์ของเรา I Am Sneakers
ตัวอย่างลิสต์ของเรา I Am Sneakers

อธิบายเพิ่มเติมลิสต์ของเรา

  1. รูปแบบคอนเทนต์ที่ I Am Sneakers ทำ : คอนเทนต์วิดีโอ (คอนเทนต์หลัก) คอนเทนต์ภาพ และบทความ
  2. แพลตฟอร์มที่ I Am Sneakers ใช้ : YouTube, Instagram, Facebook, LinkedIn และเว็บไซต์ iamsnkrs.com

เริ่มเขียน Content Pyramid ด้วยแนวคิด Sales Funnel / AIDA Model

เมื่อเราลิสต์ทั้งหมดออกมาได้แล้ว เราจะนำมาใส่ในแต่ละชั้นของ Content Pyramid โดยผมจะใช้แนวคิดของ Sales Funnel / AIDA Model (ถ้าใครหลุดไป ย้อนกลับขึ้นไปอ่าน Sales Funnel ได้ที่นี่)

โดยแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ Attention (ดึงความสนใจ ทำให้เกิดคำถาม) Interest (กระตุ้นให้สนใจมากขึ้น) และ Desire (ทำให้เกิดความต้องการ)

ชั้นของ Content Pyramid ตามแนวคิดของ Sales Funnel แบบ AIDA Model
ชั้นของ Content Pyramid ตามแนวคิดของ Sales Funnel แบบ AIDA Model

ส่วนชั้น Action (การตัดสินใจ) ขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ เพราะเป็นขั้นที่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปิดดีล ปิดการขายมากกว่า สำหรับบทความนี้ ผมขอนำเสนอในแง่วิธีการทำคอนเทนต์ เพื่อให้เพื่อน ๆ เอาไปปรับใช้กันได้มากกว่านะครับ

ชั้นที่ 1 : Attention (ดึงความสนใจ ทำให้เกิดคำถาม)

ชั้นนี้ใช้ใช้ “ดึงความสนใจ/ทำให้เกิดคำถาม” จนอยากความรู้จักคอนเทนต์ของเรา พูดแบบง่าย ๆ คือ ทำให้เกิดการตั้งคำถาม/เกิดการเอะใจขึ้นมา เพื่อหว่านล้อมให้คนเข้ามาดูก่อน

Attention
Attention

ตัวอย่างในชั้นนี้ของ I Am Sneakers

ผมเลือกใช้ “โซเชียลมีเดีย” เช่น facebook, Instagram ฯลฯ ในการดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายของแพลตฟอร์ม โดยใช้ทั้งการทำโฆษณา (Advertising) และการทำ Content Repurposing จากคอนเทนต์หลัก เช่น

  • การตัดวิดีโอบางส่วนเป็น Trailer สั้น ๆ
  • การใช้ภาพจากคอนเทนต์หลักบางส่วน
  • แชร์ลิงก์บล็อกบนเว็บไซต์ เพื่อดึงความสนใจให้ลองคลิ๊กเข้ามาอ่าน

แต่ก็ไม่ควรทำให้เหมือนการล่อลวงให้คลิ๊ก (Clickbait) จนเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียในแง่ของภาพลักษณ์ได้ฮะ

ตัวอย่างโพสต์ในโซเชียลมีเดีย (facebook page) ด้วยภาพบางฉากจากคอนเทนต์วิดีโอหลัก ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ Sneakers คู่นึงของ New Balance 2002R โดยผมจะเน้นดึงมาเฉพาะฉากที่เรารู้สึกว่าน่าจะ “กระตุ้นคำถามในใจ” ของกลุ่มคนชอบรองเท้าได้ พร้อมแนบลิงก์สำหรับดูต่อไปในโพสต์เพื่อเชื่อมโยงไปยังคอนเทนต์ในพีระมิดชั้นต่อไปด้วย

ตัวอย่างการใช้ Social Media ในการดึงความสนใจด้วยฟีเจอร์ประเภทต่าง ๆ
ตัวอย่างการใช้ Social Media ในการดึงความสนใจด้วยฟีเจอร์ประเภทต่าง ๆ

ชั้นที่ 2 : Interest (กระตุ้นให้สนใจมากขึ้น)

ชั้นนี้ใช้สำหรับเปลี่ยนคำถามในใจจากชั้นที่แล้ว ให้กลายเป็น “กระตุ้นให้เกิดความสนใจมากขึ้น” จนอยากดูต่อ อยากจะหาข้อมูลเพิ่มเติม

Interest
Interest

ตัวอย่างในชั้นนี้ของ I Am Sneakers

ผมเลือกใช้การทำ “บทความ (Blog)” บนเว็บไซต์ ที่มาจากการทำ Content Repurposing คอนเทนต์หลัก จากตัวอย่างคอนเทนต์วิดีโอเกี่ยวกับ New Balance 2002R ของชั้นที่แล้ว ผมเลือกแตกประเด็นคอนเทนต์เพิ่มเติมในบทความ เช่น

  • เพิ่มประวัติความเป็นมา
  • ภาพรองเท้าในมุมต่าง ๆ ที่ไม่มีในคอนเทนต์วิดีโอหลัก
  • ดึงคำกระตุ้นขึ้นมาเป็นชื่อบทความ “..ไม่อยากเรียกว่า Retro..”

จากนั้นแทรกคอนเทนต์วิดีโอหลัก (ที่เราโพสต์ลงบน YouTube แล้ว) ลงไปในบทความด้วย ซึ่งข้อดีการทำแบบนี้เป็นผลดีในแง่ “SEO” คือ

  • ช่วยกระจายคอนเทนต์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ มากขึ้น
  • ช่วยให้เจอทั้งคอนเทนต์หลัก (วิดีโอ) และคอนเทนต์รอง (บทความ) ไปพร้อมกัน
  • ช่วยเพิ่ม Traffic ให้กับคอนเทนต์ได้มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Organic Traffic จริง ๆ (Organic Traffic คือ Traffic ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการทำโฆษณา หรือมาจากชั้น Attention)
  • ช่วยให้คอนเทนต์และเว็บไซต์ของเราติดอันดับใน Search Engine หรือที่เรียกกันว่าติด SEO ง่ายขึ้น (กรณี Content Creator มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง)
ตัวอย่างการใช้เว็บไซต์และบทความในการแตกประเด็นคอนเทนต์ เพื่อรองรับผลจากการที่เรากระตุ้นให้เกิดความสนใจจนอยากหาข้อมูลเพิ่มเติม
ตัวอย่างการใช้เว็บไซต์และบทความในการแตกประเด็นคอนเทนต์ เพื่อรองรับผลจากการที่เรากระตุ้นให้เกิดความสนใจจนอยากหาข้อมูลเพิ่มเติม
ตัวอย่างเว็บไซต์ของเรา iamsnkrs.com ที่ติดอันดับต้นในการค้นหาเกี่ยวกับคอนเทนต์ Sneakers
ตัวอย่างเว็บไซต์ของเรา iamsnkrs.com ที่ติดอันดับต้นในการค้นหาเกี่ยวกับคอนเทนต์ Sneakers

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • แนะนำให้แทรก/ฝังคอนเทนต์หลักลงไปในบทความนี้ด้วย เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สำหรับเราหากบทความในสามารถเชื่อมโยงกับคอนเทนต์วิดีโอได้ เราจะแทรกลงไปด้วยเสมอ
  • แนะนำให้ลองประยุกต์ใช้ Rich Snippets และ Structured Data เพื่อช่วยกระตุ้นให้คนอยากคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์ และยังช่วยให้คอนเทนต์ขอเราดูแตกต่างในหน้าแสดงผลการค้นหาด้วย (เหมืนในตัวอย่างด้านล่าง)
ตัวอย่างคอนเทนต์ที่แสดงผลแบบ Rich Results โดยดึงภาพภายมรยทความมาร่วมแสดงผล
ตัวอย่างคอนเทนต์ที่แสดงผลแบบ Rich Results โดยดึงภาพภายมรยทความมาร่วมแสดงผล

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data ในการทำคอนเทนต์ SEO ได้ที่บทความด้านล่างนี้ครับ

มารู้จัก Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data สามมัลติเวิร์สของการทำคอนเทนต์ SEO
มารู้จัก Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data สามมัลติเวิร์สของการทำคอนเทนต์ SEO

ชั้นที่ 3 : Desire (ทำให้เกิดความต้องการ)

ชั้นนี้เรียกได้ว่าเป็นเกิดความเชื่อจากคอนเทนต์ในชั้นต่าง ๆ และเป็นชั้นที่ “กระตุ้นความต้องการขั้นสูงสุด” เพื่อให้พร้อมที่จะตัดสินใจ (Action) กระทำบางอย่างเพื่อให้ได้มา ถ้าในแง่การขายหรือฟรีแลนซ์ ชั้นนี้คือ ลูกค้าจับปากกาเตรียมเซ็นใบเสนอราคาแล้ว เหลือเราหว่านล้อมอีกนิดหน่อย ฮ่า ๆ

Desire
Desire

ตัวอย่างในชั้นนี้ของ I Am Sneakers

ผมเลือกใช้ “คอนเทนต์วิดีโอ” ที่อัปโหลดบน YouTube ซึ่งเป็นคอนเทนต์หลักของเรา และอย่างที่เราเปรียบเทียบไว้ว่า เหลือการหว่านล้อมอีกนิดหน่อย เพราะงั้นการทำให้เห็นภาพและเสียง เป็นสิ่งที่น่าจะ “กระตุ้นความต้องการขั้นสูงสุด” ในขั้นเกือบสุดท้ายนี้ได้

ตัวอย่างการใช้คอนเทนต์หลักเป็นวิดีโอ เพื่อกระตุ้นความต้องการขั้นสูงสุด และเป็นปลายทางของการหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Social Media และ Website
ตัวอย่างการใช้คอนเทนต์หลักเป็นวิดีโอ เพื่อกระตุ้นความต้องการขั้นสูงสุด และเป็นปลายทางของการหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Social Media และ Website

คำแนะนำเพิ่มเติม

แนะนำให้ใส่ลิงก์บทความ/เว็บไซต์จากพีระมิดชั้นที่ 2 เพิ่มเติมในส่วน Video Description และ Pin Comment เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงคอนเทนต์ได้อีกทางนึง (ถ้าในภาษาคนทำ SEO มักจะเรียกว่า backlink นั่นเองฮะ)

จากตัวอย่างคือ คอนเทนต์วิดีโอบน YouTube ที่มีเรื่องเกี่ยวกับรองเท้า New Balance 2002R นั่นเอง

ทีนี้ปลายทางจะเกิดการตัดสินใจ (Action) ไหม ก็ขึ้นอยู่กับคอนเทนต์ของเราแล้วล่ะครับ และนี่คือสรุป Content Pyramid ที่เราอธิบายมาทั้งหมด ถ้าใครอยากลองเขียนบ้าง สามารถ ดาวน์โหลดเทมเพลตและตัวอย่าง Content Pyramid ได้ฟรี คลิ๊กที่นี่ได้เลย!

ตัวอย่างการเขียน Content Pyramid ของ I Am Sneakers
สรุป Content Pyramid ของ I Am Sneakers

UPDATE : แนะนำให้ทำคู่กับการทำคอนเทนต์โดยใช้บริบท(Context)

ในเชิง SEO มักนิยมสอนให้ใช้ Search Intent ในการทำคอนเทนต์ แต่จากประสบการณ์ การใช้ Search Intent ในการทำคอนเทนต์ อาจยังไม่เพียงพอ ผมขอแนะนำให้ ทำคอนเทนต์โดยประยุกต์บริบท(Context) มาใช้ด้วย ตามไปอ่านต่อได้ที่บทความนี้ฮะ

ถ้า Search Intent ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็น ในการทำ Content ให้ติด SEO (โดยเฉพาะในยุค 2022)
ถ้า Search Intent ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็น ในการทำ Content ให้ติด SEO (โดยเฉพาะในยุค 2022)

สุดท้ายแล้ว

อย่างที่ผมเคยเขียนใน How to เริ่มต้นเป็น Content Creator และอีกบทความนึงเมื่อครั้งไปแข่งขัน จากวันแรกสู่ 10 Finalist TMRW Creators Camp 2021 ในฐานะ Content Creator ในฐานะ Content Creator ผมมองว่าการทำคอนเทนต์ของแต่ละคนมีวิธีที่แตกต่างกันไป ที่ผมเขียนแชร์ในบทความนี้ เป็นเพียงแนวทางการทำคอนเทนต์แบบนึงที่ผมลองแล้วมันใช้งานได้จริง ๆ ซึ่งมันมันโคตรจะ Multiverse มาก ๆ โดยการใช้ Content Pyramid ที่มีการประยุกต์ศาสตร์ในเชิง Content Marketing, Content Repurposing และ Sales Funnel มารวมด้วย (ใครที่เรียนสายการตลาดมา น่าจะเข้าใจเร็วขึ้น)

การใช้วิธีนี้จะช่วยให้เราเข้าใจและทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และวางแผนการทำคอนเทนต์ไปในตัวด้วย และเรามีให้ ดาวน์โหลดเทมเพลตและตัวอย่าง Content Pyramid ฟรี จะได้ลองไปฝึกเขียนกันดูนะฮะ

สำหรับ Content Creator อย่างพวกเราแล้ว อาจมองปลายทางในขั้นการตัดสินใจ (Action) เป็นการจ้างงาน เพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเราเองด้วย หรืออาจอยากสร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จัก แต่การไปถึงจุดนั้นอาจมีเหตุปัจจัยประกอบหลายประการที่ต่างกันไป ก็อยากให้เพื่อน ๆ สู้กันต่อไป (เหนื่อย ท้อ หรืออะไรก็มาคุยกับผมได้นะฮะ ยินดีรับฟังกัน) และก็ขอฝากไป Subscribe YouTube : I Am Sneakers เป็นกำลังใจให้ผมที และอย่าเป็น Brown out แบบผมนะ ฮ่า ๆ

web form email creators content hubspot-form-creator-content

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดิจิทัลมิลเลนเนียม (DMCA :Digital Millennium Copyright Act)

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ไม่อนุญาตให้แก้ไข ทำซ้ำ ดัดแปลง ส่วนหนึ่งส่วนใดในเนื้อหา บทความ/บทวิเคราะห์ รูปภาพ วิดีโอ และ/หรือสื่ออื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ http://ipthailand.go.th/th/gi-011/item/คำถาม-ตอบ-สำหรับการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์.html

Tags:

IAMSNKRS ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า และอ่านนโยบายเว็บไซต์ของเราเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน facebook

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน twitter

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

Save