Skip to content

มารู้จัก Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data สามมัลติเวิร์สของการทำคอนเทนต์ SEO

ปี 2022 คนไทยกว่า 35.6% เจอแบรนด์หรือสินค้าจากการค้นหา ด้วย Search Engine มากที่สุด แสดงว่าคนไทยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ปรากฎใน Search Engine พอสมควรเลย ดังนั้น เรามาลองใช้ Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data เพื่อช่วยในการทำคอนเทนต์เชิง SEO กัน

Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data ทั้งสามอย่างนี้เป็น ดูจากชื่อแล้วน่าจะเข้าใจยากราวกับมัลติเวิร์สในจักรวาล Marvel (ซึ่งจะว่าไปก็ใช่ ฮ่า ๆ) แต่ครั้งนี้เราจะเป็นมัลติเวิร์สในจักรวาล Search Engine แทน เดี๋ยวไปดูพร้อมกันว่า มันช่วยในแง่การทำคอนเทนต์เชิง SEO ได้ยังไงกันครับ

ยาวไปขอข้ามไปอ่าน
 [show]

รู้หรือไม่? ปี 2022 คนไทยเจอแบรนด์หรือสินค้าจาก Search Engine มากที่สุด

จากที่ข้อมูลล่าสุดของ DIGITAL 2022: THAILAND มีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ Search Engine ของคนไทย ที่อยากแชร์ต่อให้เพื่อน ๆ คือ

  • กว่า 35.6% คนไทยเจอแบรนด์หรือสินค้าจากการค้นหาด้วย Search Engine มากที่สุด
  • คนไทยจะค้นหาข้อมูลแบรนด์ สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ และช่องทางทางอันดับหนึ่งที่ใช้ค้นหา คือ Search Engine (53%)
  • การค้นหาที่รองลงมา คือ Social Network (47.5%)
คนไทยเจอแบรนด์หรือสินค้าจาก Search Engine (35.6%) ข้อมูลจากรายงานของ DIGITAL 2022: THAILAND 2022
คนไทยเจอแบรนด์หรือสินค้าจาก Search Engine (35.6%) ข้อมูลจากรายงานของ DIGITAL 2022: THAILAND 2022
คนไทยใช้ Search Engine (53%) หาข้อมูลแบรนด์ สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ ข้อมูลจากรายงานของ DIGITAL 2022: THAILAND 2022
คนไทยใช้ Search Engine (53%) หาข้อมูลแบรนด์ สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ ข้อมูลจากรายงานของ DIGITAL 2022: THAILAND 2022

ข้อมูลนี้บอกอะไรเราได้บ้าง?

อาจบอกได้ว่า การทำคอนเทนต์ในยุคปัจจุบันนั้น ไม่ได้หยุดอยู่แค่การทำคอนเทนต์วิดีโอหรือกราฟฟิกอย่างเดียวอีกต่อไป แต่เราต้องใส่ใจกับการทำคอนเทนต์เชิง SEO (Search Engine Optimization) ด้วย

อย่างที่เห็นในข้อมูล คนหันกลับมาใช้ Search Engine กันมากขึ้น และใช้ Search Engine เป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์/สินค้าเลยทีเดียว

การหาข้อมูลด้วย Search Engine ปี 2022 ของคนไทย
การหาข้อมูลด้วย Search Engine ก่อนทำการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ ในปี 2022 ของคนไทย

ดังนั้น หากเราต้องการทำคอนเทนต์เพื่อให้สินค้าหรือแบรนด์ของเราสามารถค้นหาเจอใน Search Engine เราต้องใช้คอนเทนต์เชิง SEO เข้ามาช่วย

ซึ่งวันนี้ผมจะมาแชร์อีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้คอนเทนต์เชิง SEO ของเราดูแตกต่างและกระตุ้นให้คนอยากคลิกมากขึ้น นั่นคือ การใช้ Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data นั่นเอง

ทำไมเราควรใช้ Rich Snippets ในการทำคอนเทนต์ SEO

เพราะการใช้ Rich Snippets ช่วยกระตุ้นให้เกิด Click Through Rate (CTR) หรืออัตราการคลิกผ่านไปที่เว็บไซต์เราเยอะขึ้น หรือพูดง่าย ๆ ว่า ช่วยกระตุ้นให้คนอยากคลิกเข้าเว็บไซต์เรามากขึ้นนั่นเอง

ตัวอย่างค่า CTR ของเว็บไซต์ที่แสดงผลใน Google Search Console
ตัวอย่างค่า CTR ของเว็บไซต์ที่แสดงผลใน Google Search Console

และหากคอนเทนต์ในเว็บไซต์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้อยู่ในเว็บไซต์เราได้นานขึ้น ย่อมส่งผลดีต่อเว็บไซต์เราในแง่การจัดอันดับเชิงคุณภาพของ Google ซึ่งอาจช่วยให้เว็บไซต์เราติดอันดับ SEO ได้ง่ายขึ้น หรืออยู่ในอันดับที่ดีขึ้นตามไปด้วย

อัตราการคลิกผ่าน (Click Through Rate : CTR) คืออะไร

CTR หรือชื่อเต็ม Click Through Rate แปลตามตัวคือ อัตราการคลิกผ่าน เป็นหนึ่งในค่าที่ช่วยบอกถึงความสนใจหรือสื่อถึงประสิทธิภาพของสิ่งที่เราวัดผลจากการคลิ๊กได้

ในมุมการทำโฆษณา เช่น Google Ads ค่า CTR จะช่วยบอกว่าโฆษณาตัวนั้นของเราได้ผลตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายดีขนาดไหน (ในแบบเบื้องต้น) เช่น ถ้าค่า CTR สูง อาจบอกได้ว่าโฆษณาเรามีประสิทธิภาพ ถ้าค่า CTR น้อย อาจแสดงว่าโฆษณานั้นไม่ค่อยดีเท่าไร ต้องมีการปรับ เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://support.google.com/google-ads/answer/2615875?hl=th

Rich Snippets คืออะไร?

Rich snippet คือ รูปแบบการแสดงผลพิเศษอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงผลในหน้าการค้นหา (Search Engine Result Pages : SERPs) แต่เนื่องจาก Rich snippet มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ และสร้างความสับสนในการใช้งานอยู่ไม่น้อย ดังนั้น Google จึงเรียก Rich Snippets แบบต่าง ๆ ในชื่อ การแสดงผลสื่อสมบูรณ์ (Rich Results)

ตัวอย่าง Rich snippet แบบนึงเมื่อ Google นำมาแสดงในหน้าผลการค้นหา
ตัวอย่าง Rich snippet แบบนึงเมื่อ Google นำมาแสดงในหน้าผลการค้นหา
ตัวอย่างคอนเทนต์ที่แสดงผลแบบ Rich Results โดยดึงภาพภายมรยทความมาร่วมแสดงผล
ตัวอย่างคอนเทนต์ที่แสดงผลแบบ Rich Results โดยดึงภาพภายในบทความมาร่วมแสดงผล
ตัวอย่าง Rich Results สำหรับแสดงผลคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและการรีวิว
ตัวอย่าง Rich Results สำหรับแสดงผลคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและการรีวิว

Rich snippet แสดงผลด้วยตัวเองไม่ได้

ลำพัง Rich snippet ไม่สามารถแสดงผลแบบ Rich Result ได้ด้วยตนเอง มันจำเป็นต้องมีการใช้ ข้อมูลที่มีโครงสร้าง(Structured Data) เข้ามาช่วย ชื่ออาจจะฟังดูยุ่งยากไปนิด แต่เดี๋ยวเรามาดูกันครับว่ามันสำคัญยังไง

ทำความรู้จักกับ Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data

จากที่ผมแชร์แนวทางการทำคอนเทนต์ในบทความว่าด้วย Search Intent ว่าจริง ๆ แล้ว Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data เป็นคนละคำ ทำคนละหน้าที่กัน อย่างในภาพนี้ครับ

วิธีการทำงานของ Rich Results, Schema และ Structured Data
วิธีการทำงานของ Rich Results, Schema และ Structured Data

คำอธิบาย Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data

ก่อนจะไปอ่านคำอธิบายของภาพนี้ ผมเขียนคำอธิบายไว้ 2 แบบ แบบทางการกับแบบไม่ทางการ เพื่อน ๆ สามารถเลือกข้ามไปอ่านแบบที่ต้องการได้เลยจากการคลิกปุ่มด้านล่างนี้ (ภาพประกอบไม่เกี่ยวฮะ ฮ่า ๆ)

เลือกอ่านสิ่งที่ต้องการ
เลือกอ่านสิ่งที่ต้องการ
แบบเป็นทางการ
แบบไม่เป็นทางการ

คำอธิบายแบบเป็นทางการ

ส่วนนี้จะดูเนิร์ดแว่นหนามาก (ฮ่า ๆ) และข้อมูลจะลึกหน่อย แต่ผมมองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเข้าใจหลักการเอาไว้

Rich Results คืออะไร

Rich Results คือ ชื่อเรียกแบบรวม ๆ ของการแสดงผลการค้นหา โดยดึงข้อมูลจาก Structure Data มาแสดงผลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Rich snippet, Featured snippet เป็นต้น

Structured Data คืออะไร

Structured Data หรือ ข้อมลูที่มีโครงสร้าง ทำหน้าที่จัดรูปแบบโครงสร้างคอนเทนต์ในเว็บ ให้พร้อมสำหรับ Search Engine โดยใช้ Schema เข้ามาช่วยทำ Structured Data

เมื่อช่วงต้นเเดือนเมษา (7 เม.ย. 2022) ทาง Google ได้ทำ Podcast : Structured data: What’s it all about? ว่าด้วยเรื่อง Structured Data เอาไว้ เผื่อใครสนใจสามารถตามไปฟังกันได้ครับ (เป็นภาษาอังกฤษนะฮะ) หรือจะอ่านจากที่ Google ถอดเทปไว้ก็ได้

Schema คืออะไร

ในเชิงเว็บไซต์ Schema คือ รูปแบบภาษากลาง ทำหน้าที่อธิบายคอนเทนต์ในเว็บ เพื่อให้ระบบ Search Engine เข้าใจ ใช้ร่วมกับการทำ Structured Data

แนวคิดการใช้ Schema เป็นหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเว็บเชิงความหมาย (Semantic Web) วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกิดแลกเปลี่ยนข้อมูลและเข้าใจความหมายไปในทิศทางเดียวกัน

แผนภาพแนวคิดการพัฒนาเว็บเชิงความหมาย (Semantic Web) ของ W3C
แผนภาพแนวคิดการพัฒนาเว็บเชิงความหมาย (Semantic Web) ของ W3C

เราอาจเปรียบ Schema ว่าเป็นเหมือนโปรโตคอล (Protocol) กลาง ในทางคอมพิวเตอร์แบบนึงก็ได้ ซึ่งเราจะใช้รูปแบบภาษากลาง หรือโปรโตคอลกลางจาก Schema.org เป็นหลัก

เมื่อหลายปีก่อน มักเขียน Schema โดยผสานรูปแบบภาษาพิเศษอย่าง RDFa, Microdata รวมไปกับ HTML เลย แต่ปัจจุบัน Google แนะนำให้ใช้ภาษา JavaScript และใช้รูปแบบภาษาพิเศษ JSON-LD แทน

ตัวอย่างการเขียน Schema/Structured Data ด้วยภาษา JSON-LD
ตัวอย่างการเขียน Schema/Structured Data ด้วยภาษา JSON-LD
Raw Data คืออะไร

Raw Data คือ คอนเทนต์ที่เราเขียนทั่วไปในเว็บไซต์ แบบที่ยังไม่มีการจัดรูปแบบใด ๆ เลย

คำอธิบายแบบไม่เป็นทางการ

ส่วนนี้เป็นการอธิบายแบบย่อ ใช้การเปรียบเทียบให้เห็นภาพ เข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งจะไม่มีข้อมูลเชิงลึกเลย เน้นเห็นภาพคร่าว ๆ

ให้ลองนึกการสร้างบ้านใหม่บนพื้นที่เปล่า เราอาจเปรียบ

  • Rich Results เปรียบเหมือนบ้านที่สร้างและตกแต่งเสร็จเรียบร้อย พร้อมอยู่ พร้อมรับแขก
  • Rich Snippet เหมือนของแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ต้นไม้รอบบ้าน เพื่อให้ดูมีสไตล์ขึ้น
  • Schema เหมือนสไตล์บ้าน ว่าเราอย่างสร้างบ้านหรือแต่งบ้านแบบไหน ทรงยุโรป ทรงเอเชีย เป็นต้น
  • Structured Data เปรียบเหมือนแปลนบ้าน/พิมพ์เขียวของบ้าน แสดงถึงโครงสร้าง องค์ประกอบทั้งหมดในการวางโครงสร้างของบ้าน
เปรียบเทียบการเข้าใจเรื่อง Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data
เปรียบเทียบการเข้าใจเรื่อง Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data

เชื่อว่าเพื่อน ๆ น่าจะพอเข้าใจหน้าที่และความแตกต่างของ 3 คำ Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data กันแล้วนะครับ

Rich Snippets / Structured Data มีกี่แบบ

สคีมา(Schema) และข้อมูลที่มีโครงสร้าง(Structured Data) ที่ถูกกำหนดโดยเว็บไซต์ Schema.org แล้วนำมาสร้าง Rich Snippets / Structured Data มีอยู่หลายร้อยแบบ แต่ในแง่การใช้จริง เรายังไม่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบัน Search Engine ยังรองรับการแสดงผลได้ไม่กี่แบบเท่านั้น

จากข้อมูลล่าสุด Google รองรับ Rich Snippets / Structured Data อยู่ 31 แบบ

Rich Snippets / Structured Data ที่ Google รองรับ

  1. Article
  2. Book
  3. Breadcrumb
  4. Carousel
  5. Course
  6. Dataset
  7. EmployerAggregateRating
  8. Estimated salary
  9. Event
  10. Fact Check
  11. FAQ
  12. Home Activities
  13. How-to
  14. Image License
  15. Job Training (beta)
  16. JobPosting
  1. Local Business
  2. Logo
  3. Math solvers
  4. Movie
  5. Podcast
  6. Practice problems
  7. Product
  8. Q&A
  9. Recipe
  10. Review snippet
  11. Sitelinks Search box
  12. Software App (beta)
  13. Speakable
  14. Subscription and paywalled content
  15. Video

แต่ต้องยอมรับว่าทั้ง 31 แบบ ก็ยังไม่สามารถใช้ได้ทั้งหมด

เพราะในบางแบบ มีเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น ใช้ได้เฉพาะบางเว็บ ต้องส่งคำขอใช้งานไปที่ Google ใช้ได้เฉพาะภาษาอังกฤษและในบางประเทศเท่านั้น ฯลฯ

ดังนั้นจะเหลือ Rich Snippets / Structured Data ที่เว็บทั่วไปสามารถใช้ได้ โดยไม่ต้องขอหรือมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอยู่ประมาณ 10 แบบ ที่นิยมใช้

Rich Snippets / Structured Data ยอดนิยมและนำมาใช้เองได้

  1. Article
  2. Breadcrumb
  3. Event
  4. FAQ
  5. How-to
  1. Local Business
  2. Product
  3. Recipe
  4. Sitelinks Search box
  5. Video

ในสถานการณ์จริงเราอาจไม่ได้ใช้หมดนะฮะ และอย่าลืมว่าการใส่ Rich Snippets / Structured Data เอาไว้ ไม่ได้หมายความว่า Google จะดึงมาแสดงผลให้นะครับ

ดึงภาพภายในบทความมาแสดงผลร่วม
ตัวอย่างคอนเทนต์ที่แสดงผลแบบ Rich Results ในแบบ featured snippets
ตัวอย่างการแสดงผล Rich Results แบบ Article
Rich Results แบบ Article โดยดึงภาพภายในบทความมาร่วมแสดง
ตัวอย่าง Rich Results สำหรับแสดงผลคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและการรีวิว
Rich Results แบบ Product และ Review
แสดงช่องการค้นหาในหน้าแสดงผลล่างเว็บไซต์
Rich Results แบบ Sitelinks Search box
แสดงขั้นตอนวิธีทำตามขั้นตอน
Rich Results แบบ How-to

วิธีใส่ Rich Snippets / Structured Data ลงในคอนเทนต์บนเว็บไซต์

การใส่ Rich Snippets / Structured Data ลงในเว็บไซต์ จะมีอยู่ 3 วิธีหลักที่นิยมทำกัน คือ

  1. ใช้เทมเพลตโค้ดจาก Google มาปรับแต่งและใส่ในเว็บไซต์ด้วยตนเอง
  2. ใช้ปลั๊กอิน SEO ช่วย กรณีทำเว็บไซต์ด้วย WordPress
  3. ใช้เครื่องมือช่วยสร้างโค้ดแบบกึ่งอัตโนมัติ ปรับแต่งได้เอง

สำหรับวิธีที่ผมจะแชร์ในบทความนี้ คือ วิธีที่ 3 – ใช้เครื่องมือช่วยสร้างโค้ดแบบกึ่งอัตโนมัติ

สาเหตุที่ผมเลือกสอนวิธีนี้

  1. ฟรี ไม่เสียเงินสักบาทและใช้ได้จริง (อันนี้สำคัญ ฮ่า ๆ)
  2. มีเครื่องมือนึงช่วย ไม่ต้องเขียนโค้ดเอง ไม่ต้องมีทักษะทางโปรแกรมมากมาย (คนทั่วไปใช้ได้)
  3. ใช้ได้ทั้งเว็บเขียนเองและเว็บ WordPress ไม่ต้องติดปลั๊กอินเพิ่ม
  4. ช่วยให้เข้าใจหลักการใช้ Rich Snippets / Structured Data มากขึ้น และนำไปประยุกต์ต่อได้

ข้อแนะนำการใส่ Rich Snippets / Structured Data

สำหรับใครที่ทำเว็บไซต์ด้วย WordPress และใช้ปลั๊กอิน SEO อยู่แล้ว เช่น Yoast, SEOPress ฯลฯ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ Structured Data ซ้ำซ้อน เนื่องจากปลั๊กอิน SEO ส่วนใหญ่จะสร้างสคีมาพื้นฐานนี้ให้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว เช่น

  • Article
  • Breadcrumb
  • Logo
  • Sitelinks Search box

การใส่ Structured Data ซ้ำซ้อนอาจไม่ได้ส่งผลอะไร แต่ก็ไม่มีประโยชน์ในการใส่ซ้ำเช่นกัน

วิธีทำและวิธีใส่ Structured Data ลงในเว็บไซต์

ผมจะขอยกตัวอย่างวิธีใส่ Structured Data ลงในเว็บสัก 1 แบบ ก่อนนะฮะ (จะได้ไม่ยาวเกินไป) ส่วนแบบอื่น เพื่อน ๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก e-book คัมภีร์วิธีใช้ Google Rich Snippets ในการทำคอนเทนต์ SEO ฉบับ Content Creator ฮะ

ขั้นที่ 1 : สร้างโค้ด Structured Data โดยใช้ตัวช่วย

ผมขอยกตัวอย่าง Structured Data แบบ Article ซึ่งเป็นการทำ Structured Data ใช้สำหรับอธิบายคอนเทนต์ประเภท บทความ(Article)

1. ไปที่เว็บไซต์ช่วยสร้าง Schema/Structured Data ที่ต้องการ สามารถใช้ของเว็บไหนก็ได้ ส่วนตัวผมชอบใช้ของเว็บไซต์ technicalseo ซึ่งจะมีอธิบายเพิ่มใน e-book นะครับ

2. เลือก Schema แบบ Article

Schema แบบ Article
Schema แบบ Article
Structured Data แบบ Article จากเว็บไซต์ช่วยสร้าง
Structured Data แบบ Article จากเว็บไซต์ช่วยสร้าง

3. ช่อง Article @type เลือกประเภทย่อยของบทความเรา

  • Article ใช้สำหรับบทความทั่วไปแบบไม่ระบุเฉพาะ ว่าเป็นบทความข่าวหรือบทความแบบเว็บบล็อก
  • NewsArticle ใช้สำหรับบทความแบบข่าว
  • BlogPosting ใช้สำหรับบทความแบบข่าวเว็บบล็อก
เลือกประเภทย่อยของบทความ
เลือกประเภทย่อยของบทความ

4. ช่อง URL ระบุ URL ของคอนเทนต์เรา (ต้องเป็น URL ที่ใช้ได้จริงและมี https:// นำหน้า)

5. Headline ระบุชื่อบทความของเรา

6. Image URL ระบุภาพที่เราใช้ในบทความ

  • หากต้องการเพิ่มภาพมากกว่า 1 ภาพ ให้คลิกปุ่ม +image

7. ช่อง Short description ระบุรายละเอียดบทความแบบสั้น ๆ

8. ช่อง Author @type เลือกประเภทผู้เขียนบทความของเรา

  • Person ใช้สำหรับกรณีเขียนบทความในนามบุคคล
  • Organization ใช้สำหรับกรณีเขียนบทความในบริษัท/องค์กร
ประเภทผู้เขียนบทความ
ประเภทผู้เขียนบทความ

9. ช่อง Author ระบุชื่อผู้เขียน ให้อิงตามประเภทผู้เขียนในข้อ 8 ที่เราเลือกไว้

  • หากเลือก Person ให้ใส่ชื่อบุคคล
  • หากเลือก Organization ให้ใส่ชื่อบริษัท/องค์กร

10. Author URL ระบุ URL หน้าเว็บเฉพาะของผู้เขียน หากไม่มีสามารถใส่ URL เว็บหลักแทนได้ (ต้องเป็น URL ที่ใช้ได้จริงและมี https:// นำหน้า)

11. Publisher ระบุชื่อสำนักพิมพ์/บริษัท/องค์กร หากไม่มีสามารถใส่ชื่อเว็บหลักแทนได้

12. Publisher URL ระบุชื่อสำนักพิมพ์/บริษัท/องค์กร หากไม่มีสามารถใส่ URL เว็บหลักแทนได้ (ต้องเป็น URL ที่ใช้ได้จริงและมี https:// นำหน้า)

13. Date Published เลือกวันที่บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรก

14. Date Modified เลือกวันที่บทความนี้ถูกแก้ไขล่าสุด หากไม่มีให้กำหนดวันเดียวกับ Date Published

ตัวอย่างโค้ดของ Structured Data แบบ Article

ตัวอย่างโค้ดของ Structured Data แบบ Article
ตัวอย่างโค้ดของ Structured Data แบบ Article

ขั้นที่ 2 : นำโค้ดทดสอบกับ Google Rich Results test

Google Rich Results Test เป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบชุดโค้ดหรือ URL ว่าเว็บไซต์เรารองรับการแสดงผลแบบ Rich Results หรือไม่

ผลทดสอบที่ควรนำไปใช้ คือ “ตรวจพบรายการที่ถูกต้อง X รายการ” ถ้ายังมีคำเตือนหรือข้อผิดพลาดอยู่ ควรแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน

ตัวอย่างการทดสอบด้วย Google Rich Results test
ตัวอย่างการทดสอบด้วย Google Rich Results test

เพื่อน ๆ สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปก่อนได้ หากต้องการตรวจสอบทีเดียวตอนใส่ลงเว็บไซต์แล้ว (สามารถเลือกได้ตามควาสะดวก)

ขั้นที่ 3 : นำโค้ดที่ผ่านการทดสอบ ไปใส่ในเว็บไซต์

กรณีเว็บแบบเขีนเอง

สามารถฝังไว้ที่ส่วนใดก็ได้บนเว็บไซต์ที่รองรับการใส่ HTML ไม่จำเป็นต้องฝังไว้ที่ส่วน Header เหมือนชุดโค้ดอื่น การฝังไว้ที่ส่วน Header ควรใช้เท่าที่ความจำเป็น เพื่อลดระยะเวลาโหลดเว็บไซต์

กรณีเว็บแบบ WordPress

สามารถใช้การ Add Blocks แบบ Custom HTML เพื่อแทรกชุดโค้ดภายนอกได้เลย (ในที่นี้คือ ชุดโค้ด Structured Data)

  • ไปที่โพสต์หรือหน้าเว็บที่เราต้องการใส่ จากนั้นเลือก Add block
Add block สำหรับเพิ่ม Block ใหม่
Add block สำหรับเพิ่ม Block ใหม่
  • เลือก block แบบ Custom HTML
Custom HTML Block
Custom HTML Block
  • วางโค้ดที่เราได้ลงในช่องนี้ เพื่อให้ฝังลงในหน้านั้น ๆ โดยตรง
วางโค้ดที่เราได้ลงในช่อง
วางโค้ดที่เราได้ลงในช่อง
  • Save หรือ Publish อีกรอบ (อย่าลืมเคลีย์แคชไฟล์ต่าง ๆ ก่อนนะครับ) เพื่อให้ระบบจำของใหม่ที่เราใส่เข้าไปแทนของเดิ

ขั้นที่ 4 : นำ URL ไปทดสอบกับ Google Rich Results test อีกครั้ง

เพื่อดูว่าโค้ด Structured Data ถูกฝังในหน้า URL นั้นจริงหรือไม่

ทดสอบอีกครั้งกับ Google Rich Results test
ทดสอบอีกครั้งกับ Google Rich Results test

กรณีพบข้อผิดพลาดหรือตรวจไม่พบ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

  • ใส่ค่าผิดช่อง อาจลองตรวจสอบอีกครั้งว่าช่องไหนใส่อะไร ตัวเลข ตัวอักษร
  • สัญลักษณ์ – อักษรพิเศษ ควรหลีกเลี่ยงการใส่ เช่น ปีกกา ดอกจันท์ ฯลฯ เพราะบางทีมันส่งผลกับตัวโค้ด
  • ระบบบแบบแคชไฟล์ ที่ยังจำค่าเก่าอยู่ แนะนำให้ล้างแคชไฟล์ทั้งหมดก่อนทดสอบ
  • เว็บไซต์ไม่รองรับการใส่โค้ดภายนอก อันนี้จะยากหน่อย แต่หากเกิดกรณีนี้ อาจต้องเปลี่ยนไปใช้ Google Tag Manager ในการแทกโค้ดแทน (เรื่องนี้ต้องอธิบยาว ขอละไว้ก่อนนะครับ)

ขั้นที่ 5 : เสร็จแล้ว! รอให้ Google ตรวจพบและแสดงผล

ในบางกรณีเราอาจใช้ Google Search Console เพื่อช่วยทดสอบ URL และขอให้ Google อ่าน/ทำดัชนี URL ได้

ตัวอย่างการทดสอบด้วย Google Rich Results test
ตัวอย่างการทดสอบด้วย Google Rich Results test

และนี่คือวิธีประยุกต์ใช้ Rich Snippets / Structured Data ช่วยเสริมการทำคอนเทนต์เชิง SEO ของเราครับ

ซึ่งนอกจาก Structured Data แบบ Article แล้ว เรายังมีอีกหลายแบบที่สามารถนำมาประยุตก์ใช้ได้ (อย่างในภาพตัวอย่างด้านล่าง) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก e-book คัมภีร์วิธีใช้ Google Rich Snippets ในการทำคอนเทนต์ SEO ฉบับ Content Creator ฮะ

ตัวอย่าง Rich Results สำหรับแสดงผลคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและการรีวิว
ตัวอย่าง Rich Results สำหรับแสดงผลคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและการรีวิว
ตัวอย่าง Rich Results แบบ How-to
ตัวอย่าง Rich Results แบบ How-to

สุดท้ายที่อยากฝาก : คอนเทนต์(Content) ยังเป็นสิ่งสำคัญเสมอ

การใช้ Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data อาจช่วยให้คนเข้ามาที่เว็บไซต์ หรือเรียกอีกอย่างว่าเพิ่มอัตราการคลิกผ่าน (CTR) มากขึ้นก็จริง แต่ในมุมคนทำคอนเทนต์หรือ Content Creator เราต้องไม่ลืมที่จะใส่ใจทำคอนเทนต์ให้ดีตามไปด้วย

และอยากให้เพื่อน ๆ มองว่าเราใช้ Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data ในฐานะ “เครื่องมือช่วย” มากกว่าเครื่องมือหลัก

แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ทุ่มลงคอนเทนต์อย่างเดียวนะฮะ อันนี้ก็สุดโต่งเกินไป

จากประสบการณ์ของผมเอง การทำคอนเทนต์ให้ดีในยุคนี้ ต้องรู้จักการประยุกต์หลายเทคนิคจากหลายศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น

ถ้า Search Intent ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็น ในการทำ Content ให้ติด SEO (โดยเฉพาะในยุค 2022)
ถ้า Search Intent ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็น ในการทำ Content ให้ติด SEO (โดยเฉพาะในยุค 2022)

Content Creator ต้องรู้จักการประยุกต์ถึงจะอยู่รอดกับการทำคอนเทนต์ในยุคนี้

FAQ

Rich Snippets และ Structured Data แสดงผลที่ไหน

แสดงผลในหน้าผลการค้นหา(Search Engine Result Pages : SERPs) เป็นหลัก แต่สามารถแสดงผลส่วนอื่นได้ด้วยในบางรูปแบบ เช่น ในแถบ Image, แถบ Video เป็นต้น

Rich Snippets และ Structured Data แสดงผลตอนไหน

เมื่อมีการค้นหาและเจอคอนเทนต์ของเราในหน้าแสดงผล แต่…ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการแสดงผลของ Search Engine นั้น ๆ เราไม่สามารถบังคับการแสดงผลได้ และไม่ได้หมายความว่าทุกเว็บจะแสดง Rich Snippets และ Structured Data ที่ใส่ไว้ทั้งหมด

แม้แต่ Google เองก็มี หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลที่มีโครงสร้าง กำหนดไว้ เช่น ใช้ Rich Snippets และ Structured Data ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเลย หรือใช้เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจผิด เป็นต้น กรณีนี้ Google ก็จะไม่แสดงผลให้เลย

เพราะงั้นแนะนำให้เลือกใช้แบบที่สอดคล้องกับเนื้อหากันด้วยนะครับ ถ้าเนื้อหาสอดคล้องและเข้าเงื่อนไข Google จะนำมาแสดงผลให้เองฮะ

ข้อมูลเพิ่มเติม : หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลที่มีโครงสร้าง

https://developers.google.com/search/docs/advanced/structured-data/sd-policies

e-book : คัมภีร์วิธีใช้ Google Rich Snippets ในการทำคอนเทนต์ SEO ฉบับ Content Creator

สำหรับเพื่อน ๆ ที่อ่านแล้วยังงง ๆ อยู่ และอยากรู้ว่าผมใช้เว็บไซต์ไหนในการช่วยสร้าง Rich Snippets / Structured Data เพื่อน ๆ สามารถสนับสนุน e-book ได้ที่นี่ มีทั้งหมด 187 หน้า

คัมภีร์วิธีใช้ Google Rich Snippets ในการทำคอนเทนต์ SEO ฉบับ Content Creator
คัมภีร์วิธีใช้ Google Rich Snippets ในการทำคอนเทนต์ SEO ฉบับ Content Creator

ในเล่มนี้ผมจะเขียนถึง

  • วิธีสร้างสคีมาที่เราสามารถนำมาใช้ได้อีก 9 แบบ ยอดนิยมอย่าง Video, Product Review ฯลฯ
  • วิธีใช้เครื่องมือแบบละเอียด บอกทุกจุดว่าคืออะไร ใส่ค่าอย่างไร
  • แนะนำการใช้งานจากประสบการณ์จริงว่าแบบไหนควรใช่ แบบไหนเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นง่ายกว่า
  • ฯลฯ
web form email creators content hubspot-form-creator-content

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดิจิทัลมิลเลนเนียม (DMCA :Digital Millennium Copyright Act)

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ไม่อนุญาตให้แก้ไข ทำซ้ำ ดัดแปลง ส่วนหนึ่งส่วนใดในเนื้อหา บทความ/บทวิเคราะห์ รูปภาพ วิดีโอ และ/หรือสื่ออื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ http://ipthailand.go.th/th/gi-011/item/คำถาม-ตอบ-สำหรับการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์.html

IAMSNKRS ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า และอ่านนโยบายเว็บไซต์ของเราเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน facebook

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน twitter

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

Save