Skip to content

ถ้า Search Intent ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็น ในการทำ Content ให้ติด SEO (โดยเฉพาะในยุค 2022)

เรามักจะได้ยินการพูดถึง Search Intent หรือ สิ่งที่แสดงถึงความประสงค์/ความตั้งใจในการค้นหาคำตอบของผู้ใช้ กันอยู่หลายครั้ง และการเข้าใจ Search Intent นั่นจะช่วยให้เราเข้าใจผู้ใช้มากขึ้นตามไปด้วย แต่ Search Intent ไม่ใช่สิ่งเดียว ที่ทำให้คอนเทนต์ติด SEO อย่างที่หลายคนเข้าใจ

เพราะจริง ๆ แล้วการทำคอนเทนต์ให้ติด SEO มีปัจจัยหรือเทคนิคอยู่หลายอย่าง และหนึ่งในสิ่งที่หลายคนมองข้าม ทั้งที่มันค่อนข้างมีประสิทธิภาพมาก ๆ นั่นคือ บริบท(Context) ซึ่งเราในฐานะคนทำคอนเทนต์ หรือ Content Creator ควรรู้จักและนำมาประยุกต์ใช้ในการทำคอนเทนต์ด้วย

ในบทความผมจะพาไปรู้จักกับทั้ง Search Intent คืออะไร / Contextual Content และ Contextual Marketing คืออะไร และแถมวิธีประยุกต์ใช้ Contextual Content + Search Intent พร้อมแนะนำวิธีปรับคอนเทนต์ในเชิง SEO เบื้องต้นมาแชร์ด้วย ไปดูกันฮะ

คำเตือน

บทความยาวมากถึงมากที่สุด (ฮ่า ๆ ) แต่เรามียกตัวอย่างและอธิบายโดยละเอียด ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ต่อไปครับ

ยาวไปขอข้ามไปอ่าน
 [hide]

ปัจจัยที่ช่วยให้คอนเทนต์หรือเว็บไซต์ติด SEO มีอยู่อีกหลายอย่าง

จริง ๆ แล้วการทำคอนเทนต์ให้ติด SEO มีปัจจัยหรือเทคนิคอยู่หลายอย่าง เช่น เทคนิคการเลือกใช้ keyword, การทำ Link building, Off-page / On-page รวมไปถึงการทำโฆษณา การตลาด ฯลฯ และอีกสิ่งที่ผมอยากนำเสนอในการทำคอนเทนต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม คือ “บริบท(Context)”

คำว่า บริบท(Context) คืออะไร สำคัญในการทำ Content ให้ติด SEO อย่างไร มาดูกันครับ

การเดาใจและใช้เพิ่มโอกาสด้วย บริบท(Context)

บริบท คือ โอกาส(Opportunity) แบบหนึ่ง ถ้าเรารู้จักใช้บริบทรอบตัว โดยเฉพาะรอบตัวของผู้ใช้ จะทำให้เราสามารถช่วงชิงโอกาสดี ๆ มาที่เราได้

นี่เป็นสิ่งที่ผมได้จากการอ่านหนังสือ Contextual Marketing การตลาดแบบฉวยโอกาสรอบตัวมาเป็นยอดขาย เขียนโดยคุณหนุ่ย – ณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน ซึ่งทำให้เราเข้าใจว่า บริบท(Context) นั่นสำคัญ และนั่นเป็นหนึ่งในแนวคิดทางการตลาดที่เรียกกันว่า Contextual marketing

หนังสือ Contextual Marketing การตลาดแบบฉวยโอกาสรอบตัวมาเป็นยอดขาย
หนังสือ Contextual Marketing การตลาดแบบฉวยโอกาสรอบตัวมาเป็นยอดขาย

Contextual Marketing คืออะไร

คุณหนุ่ย ได้นิยามความหมายของไว้ว่า Contextual marketing คือ การทำการตลาดแบบใส่ใจว่าบริบทโดยรอบของลูกค้าว่า ณ เวลานั้นลูกค้าเป็นแบบไหน ที่ไหน อย่างไร จากนั้นก็ปรับแต่งการตลาดหรือเนื้อหาการสื่อสารออกไปให้เข้ากับลูกค้ามากที่สุด หากเราทำได้ นั่นจะกลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการโดยอิงจากตัวลูกค้าเองอย่างแท้จริง หรือที่ยุคนี้เรียกว่า User/Audience Centric นั่นเอง

Contextual Marketing คือ
Contextual Marketing คือ

Contextual Content คือ?

คำว่า Contextual Content อ่านว่า “คอนเท็กซ์ชวล คอนเทนต์” คือ การทำคอนเทนต์ที่อิงตามบริบทของผู้ใช้เป็นหลัก และ Semrush ได้ให้คำอธิบาย Contextual Content เอาไว้ว่า

The crux of contextual content is to deliver content based on the specific needs of consumers at the precise moment they need it.

หัวใจสำคัญของ Contextual Content คือการนำเสนอคอนเทนต์/เนื้อหาตามความต้องการที่เฉพาะเจาะจง (Specific Needs) ของผู้บริโภค ในช่วงจังหวะเวลาที่ผู้บริโภคต้องการ

Semrush
Contextual Content คือ
Contextual Content คือ

สำหรับใครที่อยากรู้เพิ่มเติมว่า Contextual Marketing ทำอะไรอีกได้บ้าง แนะนำให้ซื้อหนังสือ Contextual Marketing การตลาดแบบฉวยโอกาสรอบตัวมาเป็นยอดขาย มาอ่านฮะ ฮ่า ๆ (ผมไม่ได้ค่าโฆษณานะ แต่เนื้อหาดีจริงๆครับ)

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการทำคอนเทนต์?

อย่างที่ผมย้ำเรื่องการทำคอนเทนต์เสมอ ว่ายุคนี้เป็นยุค User/Audience Centric หรือผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง เราในฐานะคนทำคอนเทนต์ Content Creator ต้องพยายามเข้าใจ และในตอนนี้ เราต้องใส่ใจและเดาใจว่าผู้ใช้ต้องการคอนเทนต์แบบไหน ลักษณะใด ในจังหวะใดด้วย วิธีการคือ ประยุกต์เอาบริบท(Context) มาใช้ในการทำคอนเทนต์ ซึ่งเราจะเรียกว่าการทำ “Contextual Content”

ตัวอย่างเช่น : เว็บไซต์ผมทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ Sneakers คู่นึง ถ้าในมุมคอนเทนต์ทั่วไปก็จะออกมาแนวรีวิวหลังใส่ ใส่แล้วเป็นไง ดีหรือไม่ดีใช่ไหมครับ แต่ถ้าในมุม Contextual Content เราจะคิดแค่นั้นไม่ได้ เราต้องคิดต่อว่า ถ้าเกิดคนอ่านแล้วสนใจเค้าจะทำยังไงต่อ เช่น

  • ถ้าเกิดคำถามว่าจะไปซื้อที่ไหน เราก็ต้องหาคำตอบส่วนนี้แทรกไว้ในคอนเทนต์ แต่ควรมีทริคเล็กน้อยว่าควรไปซื้อช่องทางไหนถึงจะได้ส่วนลดคุ้มเงินที่สุด
  • กลัวใส่ไม่ได้เพราะไม่ได้ใส่จริงหรือเห็นของจริง เราก็อาจแทรกส่วนที่ถ่ายอย่างละเอียด เช่น ใช้แสงไฟส่องลงส่วนที่เราบอกว่ารองเท้าระบายอากาสดีมาก ใส่แล้วไม่อับ หรือมุมส้นเท้าเราอาจลองใส่จริงแล้วลองเดินลงน้ำหนักจริง ให้เห็นว่าเวลาใส่แล้วมันเป็นอย่างไร เป็นต้น
ทดสอบโดยการใช้แสงส่องลงไป จะเห็นเป็นลวดลายผ้าขึ้นมา
ตัวอย่างภาพในคอนเทนต์ New Balance 2002R0 อิงบริบทของผู้ใช้เรื่องความกังวลในการซื้อรองเท้าออนไลน์ ไม่ได้ลอจริง

นี่คือสิ่งที่เราต้องคิดต่อและเป็นแนวคิดในการทำคอนเทนต์โดย อิงจากบริบทของผู้ใช้ ตามแนวคิดของ Contextual Marketing นั่นเอง

สรุปยกหนึ่ง Contextual Marketing / Contextual Content

Contextual Marketing และ Contextual Content เป็นแนวคิดในการทำคอนเทนต์ / การทำการตลาดที่อิงจากผู้ใช้เป็นหลัก ซึ่งการทำคอนเทนต์แบบ Contextual Marketing เราจะใช้ บริบทรอบตัวของผู้ใช้ มาเป็นส่วนหนึ่งในการทำคอนเทนต์และทำการตลาดให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด หรือที่เรารู้จักในอีกคำว่า User/Audience Centric นั่นเองครับ

ในศาสตร์ทางด้าน SEO ก็มีการศึกษาถึงเรื่องความต้องการของผู้ใช้เหมือนกันฮะ แต่จะไม่ได้เจาะลึกลงถึงแง่บริบทต่าง ๆ แต่จะเป็นการศึกษาผ่าน ผลการค้นหาที่แสดงอยู่ใน Search Engine มากกว่า ซึ่งจะเรียกแนวคิดนี้ว่า “Search Intent”

Search Intent คือ

คำว่า Search Intent อ่านว่า “เสิร์ช อินเทนต์” คือ สิ่งที่แสดงถึงความประสงค์หรือความตั้งใจในการค้นหาของผู้ใช้ ในบางเว็บบางตำราอาจใช้คำว่า User Intent / Audience Intent แทนก็ได้ ดังนั้นเมื่อเราพูดถึง Search Intent แกนหลักของเรื่องนี้จะอยู่ที่ ผู้ใช้(User) เป็นหลัก

Search Intent คือ
Search Intent คือ

Search Intent ใช้ทำอะไร

อย่างที่บอกไปว่า Search Intent ยึดอยู่กับผู้ใช้(User) ดังนั้น Search Intent มักใช้เพื่อช่วยให้เราเข้าใจ “ความประสงค์(Intent)” ของผู้ใช้ในการค้นหา ว่าหาแล้วเจอการแสดงผลแบบไหน เว็บไซต์อะไรที่แสดงผลขึ้นมาบ้าง ฯลฯ

ตัวอย่างหา Search Intent จากการใช้ Keyword - Sneakerhead
ตัวอย่างหา Search Intent ของเว็บต่าง ๆ จากการใช้ Keyword – Sneakerhead ในการค้นหา

Search Intent มีกี่แบบ

มีแบ่ง Search Intent เอาไว้ 4 แบบ ซึ่งแต่ละแบบจะแบ่งตามความประสงค์ของผู้ใช้ ได้แก่

ทีนี้เรามาดูตัวอย่างของ Search Intent แต่ละแบบกันดีกว่าครับ ว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไร

ประสงค์เพื่อค้นหา/นำทาง (Navigational intent)
ประสงค์เพื่อค้นหา/นำทาง (Navigational intent)

Navigational intent – ประสงค์เพื่อค้นหา/นำทาง

วัตถุประสงค์เพื่อค้นหาหรือเพื่อการนำทาง ตัวอย่างเช่น การค้นหาสถานที่ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เบอร์ติดต่อโดยตรง หรือชื่อของสินค้าหรือบริการ เช่น

  • ระบุแบรนด์ตรง ๆ adidas, nike, reebok, Instagram, google ฯลฯ
  • ระบุบริการตรง ๆ facebook login, ทำฟัน กรุงเทพ, ฯลฯ

แอบเพิ่มเติมว่าเทรนด์ค้นหา Location ร้านค้า ร้านอาหาร กาแฟ/คาเฟ่ ก็ยังบูมอยู่ ผู้ใช้มักจะนิยมค้นหาด้วย เช่น

  • Ristr8to เมนู
  • Nike outlet เชียงใหม่
  • Central ลำปาง


ซึ่งการค้นหาลักษณะนี้เป็น Search Intent ประเภท Navigational intent แบบหนึ่ง

การประยุกต์ใช้ Navigational intent

Navigational intent ค่อนข้างมีประโยชน์โดยตรงกับธุรกิจ (ในมุมผม การที่ลูกค้าใช้ Search Intent นี้ แปลว่าใจพร้อมไปกว่าครึ่งแล้ว) หากเพื่อน ๆ มีหน้าร้านอยู่แล้ว ผมขอแนะนำให้ใช้ Google My Business ในการปักหมุดธรุกิจตัวเองลงใน Google Map เพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าในการค้นหาประเภทนี้

ตัวอย่างการแสดงผล Google My Business
ตัวอย่างการแสดงผล Google My Business

ซึ่งเจ้า Google My Business ไม่ได้มีดีแค่การปักหมุดอย่างเดียว มันยังมีฟีเจอร์อื่นที่เหมาะกับการใช้ในเชิงธุรกิจมาก ๆ เช่น การแสดงรายละเอียดธุรกิจ การติดต่อที่ง่ายต่อลูกค้า การโพสต์ดึงความสนใจ ฯลฯ

ฟีเจอร์โพสต์ใน Google My Business
ฟีเจอร์โพสต์ใน Google My Business

ซึ่งผมก็ใช้อยู่เหมือนกัน (แต่ผมไม่ได้ทำธุรกิจอะไร ไม่มีหน้าร้านนะ) ไว้ผมจะมาเล่าให้ฟังอีกครั้งนะครับ

ประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (Informational intent)
ประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (Informational intent)

Informational intent – ประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล

วัตถุประสงค์เพื่อข้อมูล ประเภทนี้จะสังเกตได้ง่าย เพราะมักจะขึ้นต้นด้วยวลีหรือประโยคคำถาม อย่างเช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เป็นลักษณะของการถามมา-ตอบไป ซึ่งคอนเทนต์ที่ส่วนใหญ่ของผม ก็มักจะเป็นเชิง Informational intent อยู่เยอะเหมือนกัน เช่น

การประยุกต์ใช้ Informational intent

ด้วยความที่ Informational intent เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูล เพราะงั้นไม่มีวิธีไหนดีไปกว่า ทำข้อมูลให้ดี เป็นประโยชน์ มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงพอที่จะตอบคำของผู้ใช้ได้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

และใน Google มีฟีเจอร์การแสดงผลแบบพิเศษ เรียกว่า Rich Results ซึ่งฟีเจอร์การแสดงผลแบบพิเศษนี้มีกันอยู่หลายแบบ ในแต่ละแบบเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเว็บและคอนเทนต์ต่าง ๆ ของเราได้ด้วย

ตัวอย่าง Rich Results ที่ผมใช้อยู่เช่น FAQs และ How to เป็นต้น

ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ FAQs
ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ FAQs

Rich Results มีด้วยกันหลายแบบ และหลายคนมักจำสลับกับคำว่า Schema และ Structured Data ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นคนละคำ คนละความหมายกัน เพื่อน ๆ สามารถข้ามไปดูความแตกต่างของทั้ง 3 คำที่ว่านี้ได้ที่หัวข้อ Rich Results, Schema และ Structured Data ไม่ใช่คำเดียวกัน

ประสงค์เพื่อกระทำการบางอย่าง (Transactional intent)
ประสงค์เพื่อกระทำการบางอย่าง (Transactional intent)

Transactional intent – ประสงค์เพื่อกระทำบางอย่าง

วัตถุประสงค์เพื่อกระทำการบางอย่าง ซึ่งคำว่ากระทำบางอย่างนี่แหละกว้างมาก (ฮ่า ๆ) อาจจะหมายถึงการซื้อก็ได้ การค้นหาเบอร์โทรศัพท์เพื่อนำมาโทรต่อ การค้นหาส่วนลด/ดีลต่าง ๆ หรือเวลาฉายภาพยนตร์เพื่อการซื้อตั๋ว ซึ่งหลายครั้งมันก็ไปซ้อนทับกับ Search Intent สุดท้าย คือ Commercial intent อยู่เหมือนกัน

ประสงค์ในทางธุรกิจ (Commercial intent)
ประสงค์ในทางธุรกิจ (Commercial intent)

Commercial intent – ประสงค์ทางธุรกิจ

อย่างที่ผมบอกไปว่า Commercial intent และ Transactional intent ในหลายกรณีมันค่อนข้างซ้อนทับกัน แต่เค้ามักจะบอกว่า Commercial intent มักจะเป็นคำที่บอกถึง “สินค้า” ในลักษณะการค้นหาข้อมูลเปรียบเทียบประกอบการตัดสินใจ เช่น

  • Ultraboost 2.0 หรือ 1.0 ดีกว่า
  • Ultraboost 21 VS Ultraboost 20
  • รีวิว New Balance 990V5
  • ราคา Yeezy 350V2
การประยุกต์ใช้ Commercial intent และ Transactional intent

แนะนำให้ใช้ฟีเจอร์การแสดงผลแบบพิเศษ Rich Results เพราะมันจะช่วยกระตุ้นผู้ใช้ได้ดีที่สุด เช่น Product Reviews หรือ FAQs เกี่ยวกับสินค้าเป็นต้น

ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ Product Review
ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ Product Review

สำหรับใครที่สนใจเรื่อง Search Intent ผมขอแนะนำให้ตามไปอ่านต่อได้ที่บทความของ ahrefs และ semrush ได้จากลิงก์ด้านล่างนี้ครับ

Search Intent สำหรับทำคอนเทนต์ หาจากไหน

ถ้าเน้นง่ายและฟรี ใช้ Google Search ในการหา Search Intent ได้เลย แล้วค่อยพิจารณาจากคำ เนื้อหา หัวข้อที่แสดงผลจากการเสิร์ชว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็น Search Intent ประเภทไหน

ตัวอย่างหา Search Intent จากการใช้ Keyword - Content Creator
ตัวอย่างหา Search Intent จากการใช้ Keyword – Content Creator

Search Intent มักใช้ร่วมกับการใช้เทคนิค Keyword Research

คนทำ SEO มักจะใช้ Search Intent ร่วมกับการใช้เทคนิค Keyword Research หรือ การหาคำค้น/คำสำคัญที่เหมาะสมกับการทำ SEO ซึ่งก็จะมีวิธีการ/แนวทางในการทำ และเครื่องมือที่นำมาช่วย เช่น

  • การเลือกใช้คีย์เวิร์ดหลัก(Primary Keyword)
  • การเลือกใช้คีย์เวิร์ดประกอบ(Additional keyword)
  • การใช้ Seed Keyword
  • การพิจารณาปริมาณการค้นหา(Search volume)
  • การพิจารณาความยากง่ายของคีย์เวิร์ด(Keyword difficulty)

แต่อย่างที่ผมบอกไว้ว่า บทความนี้เราจะไม่เน้นเรื่องเทคนิคทาง SEO มาก แต่จะเน้นแนวคิดการทำคอนเทนต์มากกว่าฮะ

ตัวอย่างเครื่องมือบางอันที่นิยมใช้

ตัวอย่างเครื่องมือ Keyword Magic Tool https://www.semrush.com/analytics/keywordmagic
ตัวอย่างเครื่องมือ Keyword Magic Tool https://www.semrush.com/analytics/keywordmagic
ตัวอย่างเครื่องมือ Ahref Keywords Explorer https://ahrefs.com/keywords-explorer
ตัวอย่างเครื่องมือ Ahref Keywords Explorer https://ahrefs.com/keywords-explorer

สรุปยกสอง เรื่องของ Search Intent

Search Intent คือ สิ่งที่แสดงถึงความประสงค์หรือความตั้งใจในการค้นหาผู้ใช้ บางที่อาจใช้คำว่า User Intent / Audience Intent ก็ได้ แต่ถ้าลองสังเกตดี ๆ Search Intent แม้อิงจากความประสงค์ผู้ใช้ก็จริง แต่เป็นการอิงแบบกว้าง ๆ เพราะงั้นคนทำคอนเทนต์ หรือ SEO ก็ต้องใช้เทคนิคอื่น เช่น การเลือก Keyword เข้ามาช่วย

รู้จัก Search Intent แล้วยังไงต่อ?

ส่วนตัวผมมองว่า Search Intent เป็นทำความเข้าใจผู้ใช้แบบกว้าง ๆ จากความประสงค์หรือความตั้งใจ(Intent) จากการ Search อย่างเดียว แน่นอนว่ายังมีการใช้เรื่อง Keyword และเทคนิคอื่นเข้ามาช่วยในการทำคอนเทนต์ SEO

แต่สิ่งที่อยากตั้งคำถามหลังจากนี้ คือ “แล้วยังไงต่อ?”

  • รู้จักว่า Search Intent คืออะไร รู้ว่ามีกี่ประเภท มีคำว่าอะไร แล้วยังไงต่อ?
  • รู้ว่าต้องใช้ Keyword และเทคนิคทาง SEO มาช่วย แล้วยังไงต่อ?
  • ทำคอนเทนต์ต่อคล้องไปกับ Search Intent และ Keyword แล้วยังไงต่อ?

คำถามเหล่านี้อาจฟังดูกวนดีเหลือเกิน แต่สำหรับผมมองว่า เราควรตั้งคำถามสะกิดให้คิดต่อ ว่าสิ่งที่เรารู้มานั้นเราเข้าใจเพียงพอและรู้จักเอามาประยุกต์ใช้จริงหรือเปล่า

ซึ่งถ้าตอบจากประสบการณ์ทำงานด้าน Digital Marketing และเป็น Content Creator ทำเว็บตัวเอง ผมมองว่าแค่ Search Intent และ Keyword อาจไม่พอ โดยเฉพาะยุค User/Audience Centric หรือ “ยุคที่ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง”

เราต้องคิดต่อ เดาใจต่อว่ากลุ่มคนที่ใช้ Search Intent และ Keyword นี้อยากได้อะไร อยากเห็นอะไรเพิ่ม และเราต้องเตรียมคอนเทนต์รองรับความต้องการเพิ่มเติมในจังหวะนั้นอย่างไร ซึ่งการประยุกต์ใช้ บริบท(Context) จากศาสตร์ทาง Contextual Marketing / Contextual Content คือ สิ่งที่จะเข้ามาช่วยได้

สำหรับใครที่ข้ามมาตรงนี้แล้วหลุดไป แนะนำให้ย้อนกลับไปอ่านหัวข้อแรก บริบท(Context) คือ การเดาใจและใช้เพิ่มโอกาส กันก่อนนะครับ

Contextual Content + Search Intent อีกสูตรจำเป็นที่ทำให้ Sneakers Content ของเราติด SEO

นอกเหนือจากการประยุกต์ใช้ Sales Funnel มาเขียนเป็น Content Pyramid จากครั้งที่แล้ว ผมก็ยังใช้แนวคิด Contextual Marketing มาร่วมด้วย โดยทั้งสองวิธีที่ผมใช้ต่างมีจุดเด่นของตัวเอง คือ

  • จุดเด่นของแนวคิด Content Pyramid คือ การเชื่อมโยง(Link) ของคอนเทนต์ ทั้งภายในและภายนอกเว็บไซต์ ในเชิง SEO อาจเรียกว่าการทำ Link Building แต่เราประยุกต์ศาสตร์ทาง Marketing เข้าไปด้วย
  • จุดเด่นของแนวคิด Contextual Marketing คือเรื่อง บริบท(Context) ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อช่วยเราต้องเดาใจ เดาความต้องการที่มากกว่า Search Intent และ Keyword

สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจว่าผมประยุกต์แนวคิด Sales Funnel มาทำคอนเทนต์ให้ดีต่อ SEO ได้ยังไง สามารถไปตามอ่านต่อได้ที่บทความนี้ครับ

Content Pyramid วิธีทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงที่เราใช้ (ง่ายและดีต่อ SEO)
Content Pyramid วิธีทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงที่เราใช้ (ง่ายและดีต่อ SEO)

ผมใช้ทั้งสองแนวคิดประยุกต์นี้ในการทำคอนเทนต์ของเว็บไซต์ iamsnkrs.com และมันได้ผลจริง แต่เพื่อให้เพื่อน ๆ เข้าใจมากขึ้นผมขอยกคอนเทนต์ที่ผมทำสำเร็จ มาอธิบายเป็นกรณีศึกษา(Case study) ถึงวิธีการทำคอนเทนต์และการประยุกต์วิธีการต่าง ๆ จนทำให้คอนเทนต์ธรรมดาแบบนี้ติด SEO หน้าแรกได้

ก่อนอื่นผมขอแชร์ข้อมูลนี้ให้เพื่อน ๆ เห็นก่อนว่า

  1. หมวด Content Creator ปัจจุบัน ณ วันที่ 3 มี.ค. 65 มีอยู่แค่ 10 บทความ
  2. หมวด Content Creator เป็นหมวดใหม่ ผมเพิ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2564
  3. ผมไม่ได้ใช้หลักการทาง SEO ขั้นสูงอะไรเลย เช่น ไม่ดูความยากง่ายของคีย์เวิร์ด ไม่ได้ดูประมาณการเสิร์ช ฯลฯ

ด้วยข้อจำกัดนี้ ผมยังสามารถทำให้คอนเทนต์นี้ไปติดอยู่ในหน้า 1 ได้ ในขณะที่รายล้อมไปด้วยเหล่าเว็บใหญ่ ๆ แถมได้อันดับจากการใช้คีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดใกล้เคียงด้วย

Case study : คอนเทนต์ How to เริ่มต้นเป็น Content Creator จากประสบการณ์เรา

กรณีตัวอย่างคอนเทนต์ของเรา How to เริ่มต้นเป็น Content Creator
กรณีตัวอย่างคอนเทนต์ของเรา How to เริ่มต้นเป็น Content Creator

ขั้นตอน/วิธีที่ผมใช้ในการทำคอนเทนต์นี้ ผมเริ่มจาก

  1. ใช้ Contextual Marketing หา บริบท(Context) ของกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายคอนเทนต์ที่ผมคิดไว้คือ เด็กรุ่นใหม่ ซึ่งกำลังสนใจและอยากรู้ว่าอาชีพอะไรในอนาคตที่สามารถเป็นตัวของตัวเองและได้เงิน ในจังหวะนั้นเทรนด์การเป็น Content Creator อยู่ในกระแสแล้วส่วนหนึ่ง

บวกกับผมมีประสบการณ์จากทั้งการไปแข่งขันและการเป็น Content Creator ของตัวเอง ดังนั้น ผมจึงเลือกทำเป็น “คอนเทนต์แชร์ประสบการณ์” สำหรับคนที่อยากเป็น Content Creator โดยเล่าจากประสบการณ์ของผมจริง ๆ

และเราคิดถูกฮะ มันเวิร์คจริง ๆ ติด SEO หน้าแรกและมีคนเข้ามาอ่านเรื่อย ๆ

  1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายของคอนเทนต์

เด็กรุ่นใหม่ โดยกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มสนใจอาชีพ Content Creator ซึ่งเค้ามักจะมีประสบการณ์ในการทำคอนเทนต์ของตัวเองมาประมาณนึงแล้ว ไม่ว่าจะเป็น คอนเทนต์บนเพจ facebook / YouTube / TikTok หรือ NFTs

  1. ย่อยให้เหลือคำหรือประโยคที่สั้นที่สุด แล้วให้เป็น keyword เพื่อนำไปหา Search Intent

ขั้นตอนนี้คือการสรุปเนื้อเรื่องทั้งหมดที่เราจะทำคอนเทนต์ให้ออกมาเป็น คำหรือวลีที่สั้นที่สุด เพื่อจะไปต่อยอดเป็น keyword ในการหา Search Intent ต่อไป

อย่างกรณีคอนเทนต์แชร์ประสบการณ์ในการเป็น Content Creator นี้โชคดีหน่อย ที่ใจความทั้งหมดของคอนเทนต์ต่างก็ชี้มาที่คำว่า Content Creator อยู่แล้ว มันเลยกลายเป็น keyword ไปในตัว

  1. หา Search Intent จาก keyword ที่ได้

ขั้นนี้ง่ายหน่อย ผมจะ keyword ที่ค้นหาใน Google เพื่อดูว่าเว็บไซต์ที่แสดงหลังจากใช้ keyword ส่วนใหญ่เป็น Search Intent ประเภทไหน และประเมินว่าคอนเทนต์อะไรที่มีเยอะแล้ว แบบไหนที่ยังพอมีช่องว่างให้เราทำต่อได้ ซึ่งไม่มีกฎตายตัวว่าเราต้องทำคอนเทนต์ให้เป็น Search Intent ประเภทไหนถึงจะติด SEO นะครับ

ตัวอย่างหา Search Intent จากการใช้ Keyword - Content Creator
ตัวอย่างหา Search Intent จากการใช้ Keyword – Content Creator

อย่าง keyword : Content Creator เว็บไซต์ที่ติดอันดับส่วนใหญ่เป็นเชิงให้ข้อมูล ให้ความหมาย (Informational intent) ในเชิงทฤษฎี ซึ่งผมมว่ามันมากเกินไป ผมจึงเปลี่ยนมาใช้การนำเสนอข้อมูลแบบแชร์จากประสบการณ์จริงแทน

  1. ใช้ Content Pyramid เชื่อมโยงของคอนเทนต์เข้าด้วยกัน

คอนเทนต์นี้ผมทำทั้งรูปแบบ Content Video บน YouTube และเขียนเป็นบทความบนเว็บเช่นกัน ในส่วนวิธีการใช้ Content Pyramid เพื่อน ๆ สามารถไปอ่านต่อได้จากบทความนี้

Content Pyramid วิธีทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงที่เราใช้ (ง่ายและดีต่อ SEO)
Content Pyramid วิธีทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงที่เราใช้ (ง่ายและดีต่อ SEO)

และการเชื่อมโยงด้วย Content Pyramid แล้ว ผมยังใช้ฟีเจอร์พิเศษของ Google – Rich Results แบบ FAQs เพื่อให้คนที่อยากได้คำตอบแบบเร็ว ๆ ได้ใช้ และกระตุ้นให้อยากหาข้อมูลต่อเข้าไปในคอนเทนต์บนเว็บไซต์นั่นเองครับ

ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ FAQs
ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ FAQs

จริง ๆ เว็บเราใช้ Rich Results อยู่เยอะเหมือนกันะ น่าจะเป็นเว็บแรก ๆ ในสาย Sneakers Content ไว้เดี๋ยวจะมาอัปเดตกับเขียนแชร์ให้ลองทำตามกันนะครับ

ตัวอย่าง Rich Results ที่ Google Search Console ตรวจพบ
ตัวอย่าง Rich Results ที่ Google Search Console ตรวจพบ

Rich Results, Schema และ Structured Data จริง ๆ แล้วเป็นคนละคำ คนละความหมายกัน ซึ่งมีอยู่หลายเว็บอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนไป เพื่อน ๆ สามารถข้ามไปดูความแตกต่างของทั้ง 3 คำที่ว่านี้ได้ที่หัวข้อ Rich Results, Schema และ Structured Data ไม่ใช่คำเดียวกัน

Case study : คอนเทนต์ Sneakers New Balance 2002r

กรณีตัวอย่างคอนเทนต์ของเรา New Balance 2002R
กรณีตัวอย่างคอนเทนต์ของเรา New Balance 2002R
  1. ใช้ Contextual Marketing หา บริบท(Context) ของกลุ่มเป้าหมาย

คอนเทนต์นี้เป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์ที่เราติด SEO อันดับต้น ๆ เลย ซึ่งผมก็ใช้วิธีเดียวกันกับ Case study แรก แต่ครั้งนี้ ผมตั้งใจหยิบเรื่อง “บริบท” มาใช้เป็นอันดับแรกเลย ซึ่งก็คือ

  • คนชอบรองเท้า
  • การซื้อรองเท้าใหม่แบบออนไลน์

จากที่ผมคลุกคลีในวงการ Sneakers มา สิ่งที่ผมพบคือ คนชอบที่รองเท้าหลายคน เค้าเลือกไม่เรียกตัวเองว่า Sneakerhead อาจเพราะคำว่า Sneakerhead มันค่อนข้างมีนัยยะทั้งในแง่การยอมรับและความรู้ในเรื่องรองเท้า ผมเลยอยากนำเสนอในอีกแง่มุมนึง คือ “เป็นคนชอบรองเท้า” แต่ไม่ได้เป็น Sneakerhead

เผื่อใครอ่านแล้วสงสัยว่า Sneakerhead กับคนชอบรองเท้า มันต่างกันงั้นเหรอ? ลองไปตามอ่าน ความหมายของ Sneakerhead ได้ที่บทความนี้ฮะ

Sneakerhead / สนีกเกอร์เฮด คืออะไร
Sneakerhead / สนีกเกอร์เฮด คืออะไร
  1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายของคอนเทนต์

แน่นอนกลุ่มเป้าหมายคอนเทนต์นี้ยังเป็นคนชอบรองเท้า แต่เราเลือกจะไม่ได้เลือกเจาะกลุ่มที่เป็น Sneakerhead อยู่แล้ว ผมจะเลือกกลุ่มที่มีความชอบรองเท้าเป็นทุนเดิม หรืออาจจะเพิ่งเริ่มชอบรองเท้า และกำลังติดตามเพจหรือข้อมูลเกี่ยวกับรองเท้าอยู่

  1. ย่อยให้เหลือคำหรือประโยคที่สั้นที่สุด แล้วให้เป็น keyword เพื่อนำไปหา Search Intent

Sneakerhead เป็นคำที่ผมเลือกให้เป็นทั้งใจความหลักและ keyword ของคอนเทนต์นี้เลย

  1. หา Search Intent จาก keyword ที่ได้

จาก keyword : Sneakerhead เว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็นเชิงให้ข้อมูล (Informational intent) เหมือนเดิม แต่ครั้งนี้ผมเห็นด้วยว่าเราควรทำคอนเทนต์แบบ Informational intent ก่อน เพื่อให้คนเข้าใจทั้งคำว่า Sneakerhead คืออะไร และคนชอบรองเท้าคืออะไร

ตัวอย่างหา Search Intent จากการใช้ Keyword - Sneakerhead
ตัวอย่างหา Search Intent จากการใช้ Keyword – Sneakerhead
ตัวอย่าง Search Intent จาก Keyword - Sneakerhead
ตัวอย่าง Search Intent จาก Keyword – Sneakerhead
  1. ใช้ Content Pyramid เชื่อมโยงของคอนเทนต์เข้าด้วยกัน

เนื่องจากคอนเทนต์นี้ผมใช้รองเท้า New Balance 2002R มาเป็นส่วนหนึ่งในคอนเทนต์ ดังนั้น ผมจะใช้การเชื่อมโยงไปเชื่อมอีกบริบทนึงในเรื่อง “การซื้อรองเท้าใหม่แบบออนไลน์” ซึ่งมักจะมีคำถามที่ตามมา เช่น

  • การไม่แน่ใจเรื่องขนาดรองเท้า
  • รุ่นรองเท้ากับการเพิ่ม-ลด-ใส่ตรงไซต์
  • การไม่เห็นมุมต่าง ๆ

โดยผมจะใช้ วิธีการถ่ายแบบลองใส่จริง(On feet) โดยถ่ายทุกละเอียดที่จะสามารถตอบคำถามให้กับคนที่อยากซื้อรองเท้ารุ่นนี้ และใช้เลนส์ Macro มุมเจ้าปัญหาต่าง ๆ ที่เราเจอบ่อย เช่น มุมหน้าเท้า

ซึ่งมันจะเชื่อมกับคำถามเรื่องการลด-เพิ่มไซต์ ความสบายในการใส่ เป็นต้น เพื่อให้เห็นทุกมุมเหมือนเรากำลังดูรองเท้าในมุมต่าง ๆ ตอนกำลังซื้อใหม่จริง ๆ (ภาพด้านล่างคือตัวอย่างคอนเทนต์ต่อเนื่องของ New Balance 2002R)

New Balance 2002R0 - GREY อีกหนึ่ง Colorways ที่น่ามีของ 2002R
New Balance 2002R0 – GREY อีกหนึ่ง Colorways ที่น่ามีของ 2002R
New Balance 2002R0 - GREY อีกหนึ่ง Colorways ที่น่ามีของ 2002R
New Balance 2002R0 – GREY อีกหนึ่ง Colorways ที่น่ามีของ 2002R

จากการหยิบบริบททั้งสองอย่างนี้มาใช้ ทำให้คอนเทนต์นี้ของผมได้ทั้งในมุมการนำเสนอเรื่อง คนชอบรองเท้าแต่ไม่ได้เป็น Sneakerhead และเนียน(หรือที่เราคุ้นกับคำว่าป้ายยา) รองเท้ารุ่นนี้ไปโดยปริยาย และด้วยมุมการนำเสนอของเราที่ต่างออกไป ทำให้คอนเทนต์นี้ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ด้วยนั่นเอง

จริง ๆ ยังมีบริบทอีกมากมายและวิธีการคิดที่หลากลาย ผมแค่ประยุกต์ใช้เสี้ยวนึงเท่านั้นเอง เพื่อน ๆ คงได้เห็นถึงพลังของ Contextual Marketing จากการประยุกต์ของผมไปแล้ว ว่ามันช่วยทำอะไรได้บ้าง

เพราะงั้นถ้าใครสนใจเรื่อง Contextual Marketing เพิ่มเติม แนะนำให้ไปหาอ่านจากหนังสือ Contextual Marketing หรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ Contextual Marketing การตลาดแบบใส่ใจ ปรับตัวตามบริบทแบบ Real-time ของ การตลาดวันละตอนนะฮะ (หนึ่งในเพจที่ Content Creator ควรตามอย่างยิ่ง)

แชร์ความรู้เพิ่มเติม

Rich Results, Schema และ Structured Data ไม่ใช่คำเดียวกัน

Rich Results, Schema และ Structured Data
Rich Results, Schema และ Structured Data

อย่างที่ผมยกตัวอย่างการใช้ใน Search Intent ประเภทต่าง ๆ เราสามารถประยุกต์ใช้ Rich Results มาช่วยให้คอนเทนต์ของเราที่ในผลการค้นหา ดูน่าสนใจขึ้นได้

แต่เพื่อน ๆ รู้ไหมครับว่า Rich Results, Schema และ Structured Data ว่าเป็นคนละคำ คนละความหมายกัน และวัตถุประสงค์ในการใช้ไม่เหมือนกัน

ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ FAQs
ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ FAQs
ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ Product Review
ตัวอย่าง Google Rich Results แบบ Product Review

เพื่อให้เพื่อน ๆ เข้าใจง่ายขึ้น ลองดูจากแผนภาพที่ผมทำไว้ด้านล่างนี้ จะเห็นว่าแต่ละคำนั้นมีหน้าที่ที่ต่างกันออกไป

วิธีการทำงานของ Rich Results, Schema และ Structured Data
วิธีการทำงานของ Rich Results, Schema และ Structured Data

คำอธิบาย

  • Rich Results คือ การแสดงผลคอนทนต์ โดยดึงข้อมูลจาก Structure Data มาแสดงผลในรูปแบบต่าง ๆ ต่อผู้ใช้ ซึ่งการแสดงผลแต่ละแบบมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น Rich snippet, Featured snippet เป็นต้น
  • Structured Data หรือ ข้อมลูที่มีโครงสร้าง คือ คอนเทนต์ในเว็บที่ถูกจัดรูปแบบสำหรับ Search Engine เรียบร้อยแล้ว
  • Schema ในศาสตร์ทางเว็บไซต์ คือ ภาษากลางที่ถูกนำมาใช้อธิบายคอนเทนต์ในเว็บ โดยจะใช้ร่วมกับ Structured Data เพื่อให้ระบบ Search Engine เข้าใจเทนต์ในเว็บได้มากขึ้น และนิยมใช้รูปแบบกลางจาก Schema.org ร่วมกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า JSON-LD เช่น
    • คอนเทนต์ถาม-ตอบ อาจใช้ Schema แบบ FAQ
    • คอนเทนต์วิธีการ อาจใช้ Schema แบบ Howto
    • คอนเทนต์สินค้า/หน้าสินค้า อาจใช้ Schema แบบ Products / Reviews
    • ฯลฯ
  • Raw Data คือ คอนเทนต์ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเว็บไซต์

ตัวอย่างการการใช้ประยุกต์ใช้ Rich Results, Schema และ Structured Data ในการทำคอนเทนต์ต่าง ๆ ในเว็บนี้ และแสดงผลใน Google Search Console ครับ (กรณีเชื่อมเว็บไซต์ไว้เรียบร้อยแล้ว)

ตัวอย่าง Rich Results ที่ Google Search Console ตรวจพบ
ตัวอย่าง Rich Results ที่ Google Search Console ตรวจพบ

สำหรับใครที่สนใจประยุกต์ใช้ Rich Results, Schema และ Structured Data เพื่อช่วยในการทำคอนเทนต์ ผมได้เขียนบทความแนะนำวิธีใช้/วิธีทำ พร้อม e-book : คัมภีร์วิธีใช้ Google Rich Snippets ในการทำคอนเทนต์ SEO ฉบับ Content Creator สามารถตามไปอ่านต่อได้ที่บทความ

มารู้จัก Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data สามมัลติเวิร์สของการทำคอนเทนต์ SEO
มารู้จัก Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data สามมัลติเวิร์สของการทำคอนเทนต์ SEO

สรุปง่าย ๆ

Rich Results จะเป็นคำเรียกเรื่องของฝั่งผู้ใช้ / ส่วน Structured Data และ Schema เป็นเรื่องของฝั่งคอมพิวเตอร์และ Search Engine ทั้ง 3 คำนี้ เป็นคนละคำ คนละความหมาย ใช้ไม่เหมือนกันนะฮะ

เพราะงั้นหลังจากอ่านบทความนี้แล้ว อย่าใช้ปนกันนะ ^^

แนวทางการปรับคอนเทนต์เพิ่มเติม

นอกจากเรื่องการทำคอนเทนต์โดยใช้บริบทแล้ว ผมขอแชร์แนวทางบางส่วนที่ควรทำในการทำคอนเทนต์ (โดยเฉพาะคอนเทนต์ SEO บนเว็บไซต์เรา) ได้แก่

การตั้งชื่อคอนเทนต์

  • ควรมีคีย์เวิร์ดที่เราต้องการอยู่ในชื่อ
  • ควรตั้งให้เอกลักษณ์ ดึงดู แต่ไม่ควรเป็น Click bait มากเกินไป เพราะมันอาจทำให้ผู้ใช้กลัวมากกว่าอยากอ่านต่อ
  • อาจใช้ Search Intent เป็นแนวทางในการตั้งชื่อก็ได้ (แต่อย่าไปก็อปนะฮะ ไม่น่ารัก)

การเขียนคอนเทนต์

การจัดรูปแบบคอนเทนต์

  • ใช้หัวเรื่อง(Heading) ช่วยการเรียงลำดับคอนเทนต์ โดยเป็นลำดับชั้น (Hierarchy) H1, H2, H3 ฯลฯ
  • ใช้ตัวหนา ตัวบาง การเว้นช่องว่าง การแบ่งส่วนคอนเทนต์ ให้อ่านง่าย
  • ใช้รูปภาพ กราฟฟิก ฯลฯ ช่วยดึงดูดให้น่าอ่าน (แต่ควรสอดคล้องกับคอนเทนต์)

การตั้งค่าในเชิงเทคนิคทาง SEO (บางส่วน)

  • Meta title ไม่ควรเกิน 60 ตัวอักษร
  • Meta description ควรระบุเสมอและไม่ควรเกิน 160 ตัวอักษร
  • ตั้ง Alt ของภาพประกอบต่าง ๆ
  • ตั้ง URL ให้สอดคล้องกับชื่อคอนเทนต์ และอ่านง่าย (ภาษาของ URL ไม่มีผลต่อ SEO แต่ส่วนตัวผมชอบใช้ภาษาอังกฤษ เพราะเวลานำไปแชร์ต่อดูสละสลวย ไม่เป็นภาษาต่างดาว)
  • การทำ Link building
  • การใช้ Rich Snippets, Rich Results และ Structured Data เข้ามาช่วย
  • ฯลฯ

สุดท้ายแล้ว

การใช้ Search Intent ช่วยให้เราความใจประสงค์หรือความตั้งใจโดยอิงจากการค้นหาผู้ใช้ได้ แต่นั่นก็ยังเป็นการทำความเข้าในแบบที่กว้างมากเกินไป ดังนั้นจึงมีการใช้เทคนิคอื่น เช่น การเลือกใช้ Keyword เข้ามาประกอบ

แต่ยุค User/Audience Centric หรือ “ยุคที่ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง” จากประสบการณ์ทำคอนเทนต์ในฐานะ Content Creator และทำคอนเทนต์ในเว็บไซต์เราเอง การใช้เพียง Search Intent และ Keyword อาจไม่เพียงพอ เราต้องใช้บริบท(Context) รอบตัว มาช่วยในการทำคอนเทนต์ หรือ “Contextual Content” นั่นเอง ซึ่งผมได้ยกตัวอย่างไว้ที่หัวข้อนี้ (คลิกเพื่อย้อนขึ้นไปอ่าน)

Contextual Content เป็นแนวคิดหนึ่งจากศาสตร์ทางการตลาดที่เรียกว่า Contextual Marketing ซึ่งเป็นแนวคิดการตลาดที่อิงอยู่กับแนวคิด User/Audience Centric อย่างแท้จริง

และสุดท้าย

Search Engine พยายามสร้างอัลกอริทึมเพื่อทำความเข้าใจภาษามนุษย์ ดังนั้นมนุษย์อย่าพยายามเปลี่ยนภาษาตัวเองไปเป็นอัลกอริทึมเสียเองนะครับ

ทำคอนเทนต์ให้ดี เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้คอนเทนต์ติด SEO ครับ เชื่อเถอะ

ข้อมูลเพิ่มเติม

web form email creators content hubspot-form-creator-content

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดิจิทัลมิลเลนเนียม (DMCA :Digital Millennium Copyright Act)

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ไม่อนุญาตให้แก้ไข ทำซ้ำ ดัดแปลง ส่วนหนึ่งส่วนใดในเนื้อหา บทความ/บทวิเคราะห์ รูปภาพ วิดีโอ และ/หรือสื่ออื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ http://ipthailand.go.th/th/gi-011/item/คำถาม-ตอบ-สำหรับการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์.html

IAMSNKRS ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า และอ่านนโยบายเว็บไซต์ของเราเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน facebook

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน twitter

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

Save