อย่างที่เพื่อน ๆ ทราบกัน สิ่งที่ผมทำอยู่ตอนนี้เราเรียกว่า คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ (Content Creator) หรือถ้าพูดในภาษาแบบบ้าน ๆ คือ คนทำคอนเทนต์ ซึ่งในปัจจุบันมี Content Creator อยู่หลายท่าน ซึ่งแต่ละท่านก็จะมีคอนเทนต์ที่ต่างกันไป อย่างของผมเอง ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ Sneakers เลยขอเรียกตัวเองว่าเป็น Sneakers Content Creator นั่นเองครับ
UPDATE การเป็น Sneaker Content Creator ปีล่าสุดของเรา
รีวิวชีวิตการเป็น Sneaker Content Creator ของผมในปี 2022
วิดีโอ Recap และแชร์ประสบการณ์การเป็น Sneaker Content Creator ของผมในปี 2022
Continue Reading รีวิวชีวิตการเป็น Sneaker Content Creator ของผมในปี 2022
แปลงความชอบเป็นคอนเทนต์
อย่างที่ผมเขียนแชร์ประสบการณ์และคำแนะนำในการเป็น Content Creator ในความเห็นส่วนตัว ผมมักบอกเพื่อน ๆ ว่า ถ้าอยากเป็น Content Creator “ควรเริ่มจากสิ่งที่เราชอบ” เพราะการเริ่มจากสิ่งที่เราชอบ มันจะทำให้เรารู้สึกสนุกในการทำคอนเทนต์ และอาจทำได้ต่อเนื่องยาวนาน มากกว่าคอนเทนต์ที่เราไม่ได้ชอบ
สิ่งที่ผมชอบมีอะไรบ้าง?
- สนีกเกอร์ ถ้าอยากรู้ว่า สนีกเกอร์(Sneakers) คืออะไร ลองไปอ่านต่อได้ที่บทความนี้
- ถ่ายวิดีโอ ผมชอบถ่ายวิดีโอมาก ๆ เลย โดยเฉพาะมุมที่ทำให้เห็นถึงชีวิตความเป็นมา
- ดูหนัง/ภาพยนตร์ ผมดูหนังเยอะมาก เพราะงั้นจะสังเกตว่าในการถ่ายวิดีโอของผม มันจะติดมุมมองในแบบหนัง/ภาพยนตร์ติดมาด้วย
ผมเลยประยุกต์เอาความชอบทั้งสามอย่างนี้ แปลงมาเป็นคอนเทนต์ของผมเอง โดยใช้ Sneakers เป็นตัวหลัก ทำคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอ(Video Content) และเล่าเรื่องราว(Storytelling) ด้วยมุมมองแบบหนัง/ภาพยนตร์ นั่นเองครับ
แน่นอนว่าการเป็น Content Creator นอกจากเรื่องทำคอนเทนต์แล้ว เรายังต้องรู้จักประยุกต์ใช้เครื่องมือ/แนวคิดในการทำคอนเทนต์ด้วย ซึ่งผมได้เขียนไว้ใน 2 บทความนี้เรียบร้อยแล้ว อยากแนะนำให้เพื่อน ๆ ที่อยากเป็น/อยากเริ่มเป็น Content Creator ได้อ่านฮะ
ความเครียดจากการเป็น Content Creator ของเรา
ผมเชื่อว่าแทบจะทุกวงการมีการแข่งขันค่อนข้างสูงมาก (โดยเฉพาะยุคนี้) ยิ่งเรามีความคาดหวังหรือกดดันตัวเองสูงขึ้น มันอาจทำให้เกิดความเครียดสะสมในรูปแบบนึงขึ้นมา ซึ่งความเครียดสะสมที่ผมเป็นในช่วงที่ผ่านมานั้น เรียกว่า ภาวะบราวน์เอาต์ (Brownout Syndrome) ครับ
ภาวะบราวน์เอาต์ (Brownout Syndrome) คืออะไร
ผมขออนุญาตอ้างอิงจากคลิปชื่อ “Brownout Syndrome” ทำอย่างไรเมื่อเกิดภาวะหมดใจในการทำงาน : ประเด็นสังคม ของ ThaiPBS ซึ่งบอกว่า Brownout Syndrome คือ ภาวะความเครียดสะสมในรูปแบบหนึ่ง คล้ายคลึงกับ Burnout Syndrome แต่จะสังเกตได้ยากกว่า
ส่วนใหญ่คนเป็นบราวน์เอาต์ ภายนอกจะเหมือนคนทำงานปกติทุกประการ ยังมีแรงในการทำงาน ยังสามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แต่ ณ เวลาหนึ่ง อาจเดินออกไปอย่างทันที เปรียบง่าย ๆ กับคำที่เรามักได้ยินว่า “คนบ่นไม่ออก – คนออกไม่บ่น” (คนออกไม่บ่น ในที่นี่ มักจะเป็นคนมีภาวะอาการบราวน์เอาต์)
มาดูแบบวิดีโอกันดีกว่า
เอาล่ะ นี่คือเส้นทางการเป็น Content Creator และการ Brownout ของผมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งผมได้เล่าเรื่องทั้งหมดไว้ในวิดีโอนี้เรียบร้อยแล้ว เพื่อน ๆ สามารถกดดูจากวิดีโอด้านล่างนี้ได้เลยฮะ ส่วนใครที่มีความเครียดอยู่ลองมาแชร์กันไดนะครับ อย่าเก็บไว้คนเดียวนะ ^^
ข้อมูลเพิ่มเติม
- Brownout Syndrome ทำอย่างไรเมื่อเกิดภาวะหมดใจในการทำงาน : https://www.youtube.com/watch?v=DwEeH4kIaNo
- Burnout & Brownout หมดไฟหมดใจทำยังไงให้ไปต่อ : https://today.line.me/th/v2/article/Dy6Vm8
- รับมือภาวะ Brownout ปากบอกไหว แต่ใจไม่อยากไปต่อ : https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/work-brownout
- เบื่องานใช่ไหม? เช็คให้แน่ใจหมดใจหรือหมดไฟในการทำงาน : https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/burnout-brownout-syndrome