Skip to content

How to เริ่มต้นเป็น Content Creator จากประสบการณ์เรา

Content Creator เป็นอีกอาชีพนึงที่กำลังมาแรง โดยเฉพาะในยุคนี้ที่การทำ คอนเทนต์ (Content) สามารถสร้างตัวตนและแปลงคอนเทนต์ที่สร้างนั้นกลับมาเป็นรายได้ให้กับตัวเอง

ปัจจุบันนี้ มีสื่อหลายสำนักได้นิยามความเป็น Content Creator เอาไว้หลากหลายมาก / มากจนผมต้องกลับมาถามตัวเองว่า Content Creator ต้องทำขนาดนั้นเลยหรอ? (ฮ่า ๆ) แต่ไม่ว่ากันครับ เพราะมันก็อธิบายยากจริง ๆ นั่นแหละ

วันนี้เลยขออัปเดตบทความนี้อีกสีกที เพื่อที่อยากจะมาแชร์

  1. แชร์ประสบการณ์ในฐานะคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) คนนึง ซึ่งตอนนี้ขอเรียกตัวเองว่าเป็น Sneaker Content Creator แล้วกันครับ เพราะว่าผมทำคอนเทนต์ สนีกเกอร์(Sneakers) เป็นหลัก
  2. แชร์แนวทางการทำงานในฐานะคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) แบบ Full-time ของ IAMSNKRS (ของผมเอง)

เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ลองดูกันครับว่านิยาม/ความหมายของ Content Creator ในแบบของผม มันคืออะไรกันแน่? และอยากบอกเพื่อน ๆ ทุกคนที่อ่านเจอบทความนี้ว่า เราสามารถเป็น Content Creator ที่ประสบความสำเร็จในแบบของเราเองได้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนสายกล้าแสดงออกหรือสายฮาอย่างเดียวฮะ

อย่าอ่านบทความนี้แล้วเข้าใจผิดว่า คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ ต้องทำได้ทุกอย่าง

เหมือนจะหลายคนจะ เข้าใจผิดว่า “คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ ต้องทำได้ทุกอย่าง” เพราะอ่านจากบทความนี้ เลยเข้าใจไปว่าครีเอเตอร์ทุกคนต้องทำแบบผมได้ และอาศัยความเข้าใจผิดนี้ว่าจ้าง Content Creator ในเรทราคาที่ไม่เหมาะสม เช่น ต้องการให้ครีเอเตอร์ 1 คน สามารถทำงานได้ครอบจักรวาล ทั้งครีเอทีฟ คิดคอนเทนต์ ถ่าย ตัดต่อ แต่เงินเดือนต่ำกว่าทุกตำแหน่งที่ว่ามารวมกัน นั่นเป็น “ความเข้าใจผิดมากๆ”

การที่ผมสามารถทำหลายอย่างเกิดจาก “ประสบการณ์ทำงาน” ตลอดระยะเวลาไม่ต่ำว่า 5 ปี ในหลายตำแหน่งงาน ทั้งในรูปแบบพนักงานบริษัทและ Freelance อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงพอทราบแล้วว่า ประสบการณ์ทำงานแปรผันตรงกับค่าจ้างที่ผมได้แน่นอน

ข้ามไปอ่าน
 [show]

Content Creator คืออะไร? จากใจคนที่ทำอยู่จริง ๆ

สำหรับผมคำว่า คอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) คือ นักสร้างเนื้อหา หรือที่เราทับศัพท์ว่า คอนเทนต์(Content) โดยไม่จำกัดว่าจะรูปแบบไหนหรือบนแพลตฟอร์มใด อาจจะเป็นคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์/โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ก็ได้ หรือจะเป็นคอนเทนต์ในแบบออฟไลน์ก็ได้เช่นกัน

เพียงแต่ถ้าอยากทำให้เป็นอาชีพจริง ๆ เราก็ต้องให้ความสำคัญในเรื่องความต่อเนื่อง การวางแผน ความรักที่จะทำ และควรมีทักษะด้านคอนเทนต์ อีกด้วย

ภาพแคปเจอร์จากวิดีโอ : ตัวอย่างการเขียนคอนเทนต์ของผม
ตัวอย่างการเขียนคอนเทนต์ของผม

จะเป็น Content Creator ต้องมีผู้ติดตามหลายหมื่นหลายพัน

ทีนี้ความเข้าใจของหลายคนอาจมองว่า จะเป็นคอน Content Creator ได้ ต้องมีผู้ติดตามเยอะ ๆ คนฟอลโลว์หลายหมื่นหลายพัน สำหรับผมเรื่องนั้นไม่จำเป็นเลย แต่ถ้าผู้ติดตามเยอะมาก ๆ และสามารถสร้าง Impact ต่าง ๆ ขึ้นมาได้ เราจะเรียกกันว่า Influencer มากกว่า

Content Creator กับ Influencer ต่างกันยังไง?

ถ้าในบริบทปัจจุบัน เราสามารถเป็นทั้ง Content Creator และ Influencer ไปพร้อม ๆ กันได้ครับ (ซึ่งเราก็เห็นกันบ่อย ๆ) เพียงแต่ถ้าว่ากันตามหลักการ

  • Content Creator เน้นสร้าง Original Content (คอนเทนต์ต้นฉบับของตัวเอง)
  • Influencer เน้นใช้คอนเทนต์จากแบรนด์หรือผู้ว่าจ้าง ซึ่งเป็นคอนเทนต์สำเร็จรูป หรือแชร์จากต้นทางอีกทีนึง

ถ้าใครสนใจว่า Content Creator กับ Influencer ต่างกันยังไง ลองไปอ่านต่อได้จากบทความนี้ครับ

Content Creator vs Influencer ฉันและเธอ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (ในมุมมองของเรา)
Content Creator vs Influencer ฉันและเธอ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (ในมุมมองของเรา)

จากที่ผมเป็น Content Creator อยู่ในปัจจุบัน (ซึ่งออกมาทำแบบเต็มตัวด้วย) เราทุกคนสามารถเป็น Content Creator ได้ ไม่ว่าจะมีคนติดตามเยอะหรือน้อยก็ตามครับ

แค่เราสร้างเนื้อหาหรือคอนเทนต์แม้เพียง 1 ชิ้น เราก็สามารถเป็น Content Creator ได้เหมือนกัน เพราะมันไม่ได้มีข้อกำหนดหรือใครบอก ว่าจะเป็น Content Creator ได้ ต้องมีคนติดตามใน 3. 2. 1. ฟอร์ดเรนเจอร์! (ฮ่า ๆ)

ถ้าอยากเป็น Content Creator ก็เริ่มทำคอนเทนต์กันเถอะครับ!

ทักษะในการหาข้อมูล

สรุปเกี่ยวกับอาชีพ Content Creator อีกรอบ

Content Creator คืออะไร แปลว่าอะไร

คอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) คือ นักสร้างเนื้อหา หรือที่เราทับศัพท์ว่า คอนเทนต์(Content) โดยไม่จำกัดว่าจะรูปแบบไหนหรือบนแพลตฟอร์มใด อาจจะเป็นคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์/โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ก็ได้ หรือจะเป็นคอนเทนต์ในแบบออฟไลน์ก็ได้เช่นกัน

เพียงแต่ถ้าอยากทำให้เป็นอาชีพจริง ๆ เราก็ต้องให้ความสำคัญในเรื่องความต่อเนื่อง การวางแผน ความรักที่จะทำ และควรมีทักษะด้านคอนเทนต์ อีกด้วย

Content Creator จบอะไร ต้องเรียนอะไร

สำหรับผม Content Creator จบอะไรก็ได้ เรียนอะไรก็ได้ ทุกคนสามารถเป็น Content Creator ได้เหมือนกัน เห็นอยู่บ่อยไปที่คนเป็น Content Creator ไม่ได้จบแค่สายนิเทศศาสตร์

เพียงแต่ศาสตร์ที่เราจบมา มันจะกลายเป็นพื้นฐานในการทำคอนเทนต์ของเราไปในตัวด้วย อย่างตัวผมเอง จบสาย IT เวลาทำคอนเทนต์ต่าง ๆ ผมก็จะประยุกต์เอาศาสตร์ที่เรียนมาช่วยในการทำคอนเทนต์ อย่างการทำเว็บไซต์ตัวเอง การตัดต่อ การทำกราฟฟิกต่าง ๆ เป็นต้น

สายงาน / อาชีพ Content Creator ทำอะไร

การที่ผมใช้คำว่า “อาชีพ Content Creator” เพราะในปัจจุบัน การสร้างคอนเทนต์ (Content) มันสามารถแปลงเป็นรายได้กลับมาหาผู้สร้างสรรค์ (Creator) ได้

ปัจจุบัมีหลายบริษัท ประกาศรับสมัครตำแหน่ง Content Creator (ประกาศเป็นชื่อตำแหน่งนี้แบบเพียว ๆ เลย) ทั้งในแบบงานประจำและงานอิสระ แตกต่างจากสมัยก่อน

ส่วนรายละเอียดงาน (Job description) ของ Content Creator มักจะถูกควบรวมกับตำแหน่งทางการตลาดอื่นอย่าง Digital Marketing, Content Marketing ฯลฯ (อันนี้เท้าความจากประสบการณ์ทำงานของผมก่อนหน้านี้)
ประกาศรับสมัครงานในตำแหน่ง Content Creator ที่เราเริ่มเห็นมากขึ้น

ตอนแรกผมก็ไม่ได้ตั้งใจมาเป็น Content Creator

ขอท้าวความว่าตอนแรก ผมก็ไม่ได้ตั้งใจมาเป็น Content Creator หรอกครับ แต่หลังจากที่ผมได้ไปแข่งรายการนึง ซึ่งผมเขียนแชร์ไว้ในบทความนี้ จากวันแรกสู่ 10 Finalist TMRW Creators Camp 2021 ในฐานะ Content Creator

ภาพถ่ายรวมผู้เข้ารอบ 10 นสุดท้ายของ TMRW Creators Camp 2021 รอบ Final Round ที่ผมได้ไปแข่งกับเค้าด้วย (ภาพจาก rainmaker.in.th)
ภาพถ่ายรวมผู้เข้ารอบ 10 นสุดท้ายของ TMRW Creators Camp 2021 รอบ Final Round ที่ผมได้ไปแข่งกับเค้าด้วย (ภาพจาก rainmaker.in.th)

จากตอนนั้น ผมเริ่มเห็นช่องทางและโอกาสในการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) มากขึ้น และตอนนี้ผมเป็น Content Creator แบบ Full-time ของ IAMSNKRS (ออกมาทำเพจและเว็บไซต์ของตัวเอง) และผมขอเรียกตัวเองว่าเป็น Sneakers Content Creator ครับ

จากนี้ไปในทุกปี ผมจะมา Recap ชีวิตการเป็น Sneaker Content Creator ให้เพื่อน ๆ ฟังกัน ว่าผมมีข้อมูล เทคนิควิธีอะไรในการเป็น Content Creator บ้าง

อย่างปีล่าสุดนี้ ผมมีเขียน Recap ไว้เรียบร้อยแล้วว่าผมใช้ 3 เทคนิคนี้ในการทำคอนเทนต์ของ IAMSNKRS ได้แก่

  1. Moment Time : จุดร่วมของคนดูและเรา
  2. Question : ใช้คำถามมาทำคอนเทนต์
  3. Be yourself : เป็นตัวของตัวเอง

สำหรับสายอ่าน :ในรายละเอียดแต่ละข้อนั้น เพื่อน ๆ สามารถคลิกเข้าไปอ่านต่อดได้จากจาก Recap ล่าสุดด้านล่างนี้ได้เลยครับ

ปีนี้กล้าพูดได้อย่างเต็มปากว่าตัวเองเป็น Sneakers Content Creator หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Content Creator เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ที่ผ่านมาในฐานะ Sneakers Content Creator ว่าผมมีวิธีการอะไร ทำยังไงถึงได้มีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ และ How to เล็ก ๆ สำหรับคนที่กำลังอยากเป็น Content Creator เหมือนกันได้ลองฟังกัน
2022 Recap – ชีวิตการเป็น Sneaker Content Creator ของผมในปี 2022

อยากเป็น Content Creator ต้องเริ่มจากการ “ถามตัวเอง”

สำหรับผมการ “ถามตัวเอง” (ดูเป็นคำถามทางจิตวิทยามากเลย ฮ่า ๆ) แต่ผมทำแบบนี้จริง ๆ ครับ และจุดเริ่มต้นแรกในการเป็น Content Creator ของผมเลย เช่น ลองถามตัวเองว่าเราอยากทำคอนเทนต์แบบไหน เราถนัดทำอะไร เราอยากเล่าเรื่องอะไรให้คนอื่นฟัง เป็นต้น เพราะการถามตัวเอง มันจะช่วยให้เราพอเห็นแนวทางการทำคอนเทนต์ของตัวเองในอนาคตได้

อย่างตัวผมเอง ผมชอบเรื่องของ Sneakers รองเท้าผ้าใบ และผมก็ชอบเล่าเรื่องของรองเท้าในแบบของผมเอง ซึ่งเราอาจไม่ต้องเป็นคนเท่หรือฟังแต่เพลงสไลต์แรปหรือฮิปฮอป เราก็เป็นคนชอบ Sneakers ได้เหมือนกัน

ลำพังแค่การถามตัวเองและความชอบ มันช่วยอะไรได้จริง ๆ เหรอ?

ปัจจุบันผมได้มีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ต่าง ๆ หนึ่งในนั้นก็คือ ASICS SportStyle ซึ่งเป็นแบรนด์รองเท้าที่ผมชอบมานาน และเราใส่ของเค้าจริง ๆ จนกระทั่ง ASICS SportStyle เห็นเราและให้โอกาสร่วมงานกับแบรนด์ครับ ^^

ทีนี้เพื่อน ๆ เชื่อหรือยังว่าการถามตัวเองว่าชอบอะไร และเริ่มทำคอนเทนต์จากสิ่งที่เราชอบจริง ๆ สักวันนึงมันจะมีโอกาสของเราครับ

ด้านล่างคือตัวอย่างอีกหนึ่งคอนเทนต์ที่ทำร่วมกับ ASICS SportStyle และยังได้มีโอกาสทำคอนเทนต์รีวิวสนีกเกอร์คู่ต่าง ๆ ของแบรนด์ ASICS SportStyle ด้วย

Unboxing ASICS x CARNIVAL GT-2160 ‘Concrete Bloom’ นี่คือ GT-2160 ของผมคู่ที่ 5 ไม่หวือหวา แต่มาด้วยจิตวิญญาณ

นี่คือ ASICS GT-2160 คู่ที่ห้า ASICS x CARNIVAL GT-2160 ‘Concrete Bloom’ คอลแลปส์ระหว่าง ASICS และ CARNIVAL ที่หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมผมตื่นเต้นอะไรกับคู่นี้นัก

ดูต่อ Unboxing ASICS x CARNIVAL GT-2160 ‘Concrete Bloom’ นี่คือ GT-2160 ของผมคู่ที่ 5 ไม่หวือหวา แต่มาด้วยจิตวิญญาณ

ASICS GT-2160 คู่ที่สองแล้วครับ! Cream / Pure silver สนีกเกอร์คู่ใหม่ ที่ไม่ต้องไปสุ่มแล้ว!

พอมา ASICS GT-2160 Cream / Pure silver คู่นี้ ผมรู้สึกเหมือนมีแฟลชแบ็คกลับไปช่วงตื่นเต้นอยากได้ GT-2160 คู่แรกเลย!

ดูต่อ ASICS GT-2160 คู่ที่สองแล้วครับ! Cream / Pure silver สนีกเกอร์คู่ใหม่ ที่ไม่ต้องไปสุ่มแล้ว!

ทักษะที่ Content Creator ควรมีในยุคนี้

ปฎิเสธไม่ได้ว่าการเป็น Content Creator จำเป็นต้องอาศัยทักษะทั้งแบบ Hard Skill / Soft Skill ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของ Creator แต่ละคน แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์ล่ะ? ต้องเริ่มตรงไหนและใช้ทักษะอะไรบ้างในการเป็น Content Creator

ผมขอสรุปทักษะที่จำเป็นในสายงาน Content Creator จากประสบการณ์ของผม ดังนี้

  • ทักษะในการทำคอนเทนต์ ถ้าไม่มีข้อนี้ตั้งแต่แรกจะลำบากมากพอสมควรเช่น รู้ว่าคอนเทนต์ที่จะทำคืออะไร ต้องทำแบบไหน อย่างไร
    • ยุคนี้เราต้องเรียนรู้ ทักษะการทำคอนเทนต์เชิง SEO (Search Engine Optimization) ไว้ด้วย เพื่อให้คอนเทนต์ของเราสามารถค้นหาเจอได้ใน Search Engine ต่าง ๆ อย่าง Google
  • ทักษะในการหาข้อมูล ในการทำคอนเทนต์เราต้องอาศัยข้อมูลรอบด้านมาประกอบ ซึ่งจะช่วยให้คอนเทนต์สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งเราก็ต้องรู้แหล่งของข้อมูล รู้ที่มา รู้ว่าข้อมูลใดน่าเชื่อถือ เป็นต้น
  • ทักษะในด้านโซเชียลมีเดียและการตลาดเบื้องต้น
    • โซเชียลมีเดียเหมือนเป็นอวัยวะนึงของคนทั่วไป เพราะงั้นหากเราอยากให้คนเข้าถึงคอนเทนต์ เราต้องมีทักษะในด้านโซเชียลมีเดียด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน ฟีเจอร์ เทคนิค/วิธีการ รวมไปถึงเรียนรู้กลุ่มคนที่ใช้โซเชียลนั้น ๆ
    • แน่นอนว่าเมื่อพูดเรื่องนี้ มันจะต้องมีเรื่องการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง เราอาจไม่ต้องรู้เทียบเท่านักการตลาดก็ได้ แต่ก็ควรศึกษาเอาไว้ เพราะหลัการตลาดหลายอย่าง เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำคอนเทนต์ได้ด้วย
  • ทักษะในการใช้เครื่องมือ มีคอนเทนต์แล้ว เราต้องรู้จักเครื่องมือที่จะใช้ทำคอนเทนต์ด้วย เช่น ทำคอนเทนต์วิดีโอ ก็ต้องรู้ว่าต้องใช้เครื่องมืออะไรในการตัดต่อ ถ่ายทำ เป็นต้น

ถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้ว่ามีทักษะอะไรอีกบ้าง สามารถไปตามต่อได้ที่บทความนี้ฮะ

5 ทักษะสำคัญสายงาน Content Creator ที่ควรมีในปี 2022
5 ทักษะสำคัญสายงาน Content Creator ที่ควรมีในปี 2022

How to การทำคอนเทนต์ในแบบ I Am Sneakers

เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตาม ผมจะขอแชร์ แนวทางการทำคอนเทนต์ ในแบบของผมเองมาฝากกันครับ โดยผมจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ

  1. ก่อนทำคอนเทนต์
  2. ตอนทำคอนเทนต์
  3. หลังทำคอนเทนต์
แนวทางการทำคอนเทนต์ในแบบของผม 3 ส่วนหลัก
แนวทางการทำคอนเทนต์ในแบบของผม 3 ส่วนหลัก

ทั้ง 3 ส่วนนี้จะคล้ายกับหลักการทำโปรดักชัน 3P เลย ซึ่งในการทำคอนเทนต์และการเป็น Content Creator ก็จะใช้หลักการคล้ายกันครับ อีกอย่าง การทำงานแบบมีขั้นตอนจะช่วยให้เราจัดการงานหลายอย่างได้รวดเร็ว เป็นระบบ และในอนาคตหากเรามีการขยายทีมงานหรือไปทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ มันจะช่วยให้การทำงานร่วมกันง่ายขึ้นด้วย

ส่วนที่ 1 : ก่อนทำคอนเทนต์

ก่อนทำคอนเทนต์
ก่อนทำคอนเทนต์

ตั้งคำถามและคิดตามก่อนทำคอนเทนต์

การตั้งคำถามและการคิดตาม เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของการเป็น Content Creator เลยก็ว่าได้ สำหรับผม การทำคอนเทนต์อะไรขึ้นมาสักชิ้นนึง ต้องอาศัยการตั้งคำถามและการคิดเสมอ

เพราะงั้นเราอยากลองให้เพื่อน ๆ ตอบคำถาม 5 ข้อข้างล่างนี้ ซึ่งมันเป็นคำถาม 5 ข้อที่เราใช้ถามตัวเอง ก่อนจะเริ่มสร้างคอนเทนต์สักอันนึงขึ้นมา คำถามทั้ง 5 ไม่มีผิดมีถูกนะฮะ แต่อยากเพื่อน ๆ ลองตอบตามจริง ตอบจากใจจริง เพราะไม่งั้นเราจะมองภาพรวมไม่ออกว่าคอนเทนต์ที่เราทำจะไปต่อได้ไหม

ทดสอบว่าเราพร้อมที่จะทำคอนเทนต์ไหม

คำถามทั้ง 5 นี้ เป็นหลักคำถามที่ผมประยุกต์มาจาก หลักการตั้งคำถามแบบ 5W1H อยากเพื่อน ๆ ลองตอบตามจริง ไม่งั้นเราจะมองภาพรวมไม่ออกว่าคอนเทนต์ที่เราทำจะไปต่อได้ไหม

How to เริ่มต้นเป็น Content Creator จากประสบการณ์เรา

คำถามทั้ง 5 นี้ เป็นหลักคำถามที่ผมประยุกต์มาจาก หลักการตั้งคำถามแบบ 5W1H ซึ่งเป็นหลักคำถามที่ประยุกต์ใช้อยู่แทบจะในทุกการทำงานเลยก็ว่าได้

  1. เรารู้ว่าจะทำคอนเทนต์อะไร (ชื่ออะไร เกี่ยวกับอะไร)
  2. เรารู้ว่าจะทำคอนเทนต์นี้ให้ใครดู (กลุ่มคนดูเราเป็นใคร รายละเอียดคนกลุ่มนี้เป็นแบบไหน)
  3. เรารู้ว่าจะนำคอนเทนต์นี้ไปอยู่ที่ไหน (คนดูอยู่แพลตฟอร์มไหน จะลงกี่แพลตฟอร์ม)
  4. เรารู้ว่าทำไมถึงเลือกทำคอนเทนต์นี้ (ทำเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้คนดู เป็นประโยชน์ไหม)
  5. เรารู้ว่าจะทำคอนเทนต์นี้อย่างไร (รู้ว่าจะใช้เครื่องมือ วิธีการอะไรในการทำ)
  • ถ้าตอบได้ทั้งหมด ไม่ติดขัด : ผมมองว่าคอนเทนต์นั้นมีโอกาสที่จะได้ไปต่อฮะ และจะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะเราพอจะมองภาพกว้าง ๆ ออกแล้ว
  • ถ้าตอบได้บางข้อ : แนะนำให้ค่อย ๆ ตามคิดอีกที บางทีเราอาจพลาดบางจุดไป แต่ถ้าเราคิดแล้วคิดอีก ก็ยังตอบไม่ได้ทั้งหมด ผมมองว่า คอนเทนต์นี้น่าจะมีปัญหาหรืออาจจะยังไม่เวิร์ค คงต้องลองเปลี่ยนคอนเทนต์ใหม่ดูครับ

หาข้อมูลประกอบเพิ่มความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง

ข้อมูล (Data) ความน่าเชื่อถือ (Reliability) และความถูกต้อง เป็นอีกเรื่องสำคัญที่คนเป็น Content Creator ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะขั้นตอนก่อนทำคอนเทนต์ สิ่งงที่อยากให้ Content Creator คำนึงถึงเสมอ เช่น

  • ความถูกต้องของข้อมูล ข้อมูลที่เราได้มาถูกต้องไหม ได้จากแหล่งที่น่าเชื่อถือจริงไหม คะแนนความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลเป็นอย่างไร (กรณีคอนเทนต์ที่อ้างอิงบทความวิชาการ จะมีระดับความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลแสดงอยู่) เป็นต้น
  • ความถูกต้องทางกฎหมาย ข้อมูล ภาพ สินทรัพย์ดิจิทัล หรือข้อมูลอะไรก็ตามที่อาจละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคล ล้วนมีฎหมายคุ้มครองอยู่ การนำมาใช้อาจต้องคำนึงถึงผลทางกฎหมายด้วย เช่น การทำหนังสืออนุญาตใช้งาน การขออนุญาตนำมาเผยแพร่ ทำซ้ำ เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือของ Content Creator แต่ละสายก็จะแตกต่างกันออกไป สำหรับผม ด้วยความที่เราเป็น Sneakers Content Creator ซึ่งทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ สนีกเกอร์ (Sneakers) หรือรองเท้าของแบรนด์ต่าง ๆ เป็นหลัก เรา ข้อมูลที่เราได้มามักจะมาจากแบรนด์ของ Sneakers โดยตรง ซึ่งแหล่งข้อมูลนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือในระดับนึงอยู่แล้ว

แต่ถ้าเป็นคอนเทนต์ทั่วไปที่ผมเขียนเอง ก็จะอาศัยเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เว็บไซต์ที่เป็น Partner กับทางแบรนด์ ก็จะช่วย Screen ความน่าเชื่อถือได้ในระดับนึง และเพื่อป้องการเรื่องลิขสิทธิ์ในการใช้ภาพ ภาพในเว็บไซต์ของเราส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่เกิดจากการถ่ายของผมเอง (ยกเว้นภาพจากข่าวประชาสัมพันธ์จากแบรนด์)

เรียบเรียง เขียนและสรุปด้วยเสียงเราเอง

หลังจากที่ผมหาข้อมูลประกอบเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อมาคือ เรียบเรียง เขียนและสรุป อีกหนึ่งทักษะของการเป็น Content Creator ซึ่งการเขียนในที่นี้ เพื่อน ๆ จะเขียนใส่กระดาษหรือจะพิมพ์ก็ได้ไม่ว่ากัน

แต่อย่าลืมว่า การเรียบเรียง เขียนและสรุป เป็นสิ่งที่ใครก็ทำได้ เพราะงั้นสิ่งที่ Content Creator อย่างเราต้องทำต่อ คือ

  • สอดแทรกการเล่าเรื่อง(Storytelling) เพื่อสร้างความอิน/คล้อยตาม ดึงให้กลุ่มเป้าหมาย (Audience) อยู่กับคอนเทนต์ของเราลงไปด้วย
  • ใส่เสียง(Voice) ของตัวเอง เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างจากคนอื่น เสียงในที่นี้จะหมายถึงตัวตน เอกลักษณ์ของตัวเอง เหมือนกับเสียงเราที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ถ้าใครสงสัยว่ามันเป็นยังไง ข้ามไปอ่านที่ Content Creator ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ ใช้เสียงของตัวเอง

ซึ่งผมจะใช้กับอีกหนึ่งเครื่องมือที่อาจจะดู Advance ขึ้นมาหน่อย คือ Storytelling Canvas ของคุณเคน – นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ จาก The Standard อันนี้แนะนำเลยฮะสำหรับสายทำคอนเทนต์ เพราะจะยิ่งทำให้เราวิเคราะห์ภาพรวมคอนเทนต์เราได้ละเอียดขึ้นไปอีกขั้นนึง

Storytelling Canvas ของคุณเคน - นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ จาก The Standard
Storytelling Canvas ของคุณเคน – นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ จาก The Standard

ส่วนวิธีการเขียน รายละเอียดต่าง ๆ แนะนำอ่านจากบทความนี้ของ The Standard ได้เลยฮะ รู้จัก ‘Storytelling Canvas’ โมเดลสร้างคอนเทนต์ในวันที่ผู้บริโภคคือ ‘ศูนย์กลาง’ พร้อมลิงก์ดาวน์โหลด

เข้าใจแพลตฟอร์มในการลงคอนเทนต์และกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง

อีกสิ่งสำคัญไม่แพ้กันของ Content Creator คือ การเข้าใจแพลตฟอร์มในการลงคอนเทนต์และกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง คำนึงเสมอว่าคอนเทนต์ประเภทใด ลักษณะแบบไหน เหมาะกับแพลตฟอร์มใดเป็นพิเศษ และกลุ่มเป้าหลายลักษณะไหนที่ใช้แพลตฟอร์มนั้น ๆ เช่น

  • YouTube เหมาะสำหรับคอนเทนต์ประเภท video
  • TikTok, IG Reels เหมาะสำหรับคอนเทนต์ประเภท video แต่เป็น video แบบสั้น ๆ
  • IG เหมาะสำหรับคอนเทนต์ประเภทภาพ คำอธิบายไม่ต้องเยอะ เน้นความสวยงามของภาพเป็นหลัก
  • ฯลฯ

กับเราควรลองอ่านรายงานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ Social Media การใช้สื่อต่าง ๆ ด้วยฮะ ซึ่งในแต่ละปีเค้าจะมีหน่วยงานที่สรุปรายงานเหล่านี้ออกมาเผยแพร่ให้เราได้อ่านกัน ซึ่งในปี 2022 นี้ แนวโน้มคนไทยหันมาใส่ใจการค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine มากขึ้น

DIGITAL 2022 – THAILAND

  • กว่า 35.6% คนไทยเจอแบรนด์หรือสินค้าจากการค้นหาด้วย Search Engine มากที่สุด
คนไทยเจอแบรนด์หรือสินค้าจาก Search Engine (35.6%) ข้อมูลจากรายงานของ DIGITAL 2022: THAILAND 2022
คนไทยเจอแบรนด์หรือสินค้าจาก Search Engine (35.6%) ข้อมูลจากรายงานของ DIGITAL 2022: THAILAND 2022
  • และคนไทยในปัจจุบัน นิยมหาข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ต่าง ๆ ก่อนจะมีการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า/บริการ
การหาข้อมูลด้วย Search Engine ปี 2022 ของคนไทย
การหาข้อมูลด้วย Search Engine ปี 2022 ของคนไทย

จากข้อมูลล่าสุดนี้ อาจบอกคนที่อยากเป็น Content Creator ได้ว่า การทำคอนเทนต์ในยุคปัจจุบันนั้น อาจไม่ได้หยุดอยู่แค่การทำคอนเทนต์วิดีโอหรือกราฟฟิกอย่างเดียวอีกต่อไป แต่เราต้องใส่ใจกับการทำคอนเทนต์เชิง SEO (Search Engine Optimization) ด้วย

แต่อย่างไรก็ดี การที่เราทำคอนเทนต์โดยไม่คำนึงถึงแพลตฟอร์มปลายเลย ไม่ต่างอะไรกับการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำครับ เพราะงั้นแนะนำให้ศึกษาแพลตฟอร์มในการลงคอนเทนต์ของตัวเองอีกทางนึงด้วย

ส่วนที่ 2 : ตอนทำคอนเทนต์

ตอนทำคอนเทนต์
ตอนทำคอนเทนต์

ขั้นตอนนี้ตามชื่อเลยฮะ เป็นขั้นลงมือทำคอนเทนต์จริง ตามที่ได้วางแผน ตามข้อมูล ช่องทางที่รวบรวมไว้ ขั้นตอนนี้บอกตามตรงเลยว่า ขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ของ Content Creator แต่ละคนเลย ว่าจะมีมุมมองในการนำเสนอคอนเทนต์ตัวเองแบบไหน บางคนอาจจะมีการร่าง Storyboard ไว้ เราก็สามารถทำตามได้เลย

ภาพด้านล่างจะเป็นตัวอย่าง Storyboard แบบง่าย ๆ ของคอนเทนต์ IAMSNKRS x TMRW EP.1 รองเท้าใหม่ ถ้าเพื่อน ๆ สนใจอาจลองไปอ่านดูต่อได้ฮะ

ตัวอย่างสตอรี่บอร์ด (Storyboard) IAMSNKRS x TMRW EP.1 รองเท้าใหม่
ตัวอย่างสตอรี่บอร์ด (Storyboard) IAMSNKRS x TMRW EP.1 รองเท้าใหม่

อย่างที่ผมบอกในข้อที่ผ่านมาการเข้าใจแพลตฟอร์มในการลงคอนเทนต์ของตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับผมเอง ผมมีแพลตฟอร์มหลักในการลงคอนเทนต์ของผมจะมี 2 แพลตฟอร์ม คือ

  1. แพลตฟอร์ม Social Media ทั่วไป อย่าง facebook, YouTube, Instagram
  2. แพลตฟอร์มเว็บไซต์ของเราเอง www.iamsnkrs.com

ดังนั้นในการทำคอนเทนต์ 1 ครั้ง ผมจะพยายามแบ่งย่อยการทำคอนเทนต์ออกเป็น 2 แบบ คือ

  1. ทำคอนเทนต์แบบวิดีโอ สำหรับลงในช่องทาง Social Media ทั่วไป
  2. ทำคอนเทนต์แบบภาพ/ข้อความ สำหรับลงเป็นบทความบนเว็บไซต์ www.iamsnkrs.com

สาเหตุที่ผมทำแบบนี้ เพราะผมต้องการให้เกิด Traffic จากแพลตฟอร์ม Social Media ทั่วไป และเกิด Traffic ในเชิง SEO สำหรับแพลตฟอร์มเว็บไซต์ของเราเอง (หรือใครที่สายทำเว็บอยู่แล้วจะคุ้นกับคำว่า Organic Search นั่นเองครับ)

ซึ่งวิธีนี้ เป็นวิธีที่ได้ผลดีมากสำหรับ I Am Sneakers นั่นเพราะ คอนเทนต์ทั้ง 2 แบบ ต่างเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สามารถค้นเจอได้จากทั้ง Social Media และเว็บไซต์ และนั่นยิ่งเป็นผลดีกับคอนเทนต์เราอีกด้วย ใครอยากรู้วิธีทำคอนเทนต์แบบนี้ ตามไปอ่านได้ที่ Content Pyramid วิธีทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงที่เราใช้ (ง่ายและดีต่อ SEO)

Content Pyramid วิธีทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงที่เราใช้ (ง่ายและดีต่อ SEO)
Content Pyramid วิธีทำคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงที่เราใช้ (ง่ายและดีต่อ SEO)

ภาพข้างล่างเป็นตัวอย่างผลลัพธ์จากวิธีการแบ่งคอนเทนต์เป็น 2 แบบ และทำให้คอนเทนต์ทั้ง 2 เชื่อมโยงถึงกันและกัน จะเห็นว่าจากระบบหลังบ้านของแพลตฟอร์ม YouTube แหล่งที่มาภายนอกที่ค้นเจอ Video ของผมมาจากการ Search ด้วยเหมือนกัน

ตัวอย่าง การเข้าถึง Video Content ของเราที่ได้จากการคอนเทนต์แบบเชื่อมโยยงกัน ช่วยให้ Traffic เพิ่มขึ้นและค้นหาเจอง่ายขึ้น
ตัวอย่าง การเข้าถึง Video Content ของเราที่ได้จากการคอนเทนต์แบบเชื่อมโยยงกัน ช่วยให้ Traffic เพิ่มขึ้นและค้นหาเจอง่ายขึ้น

ตัวอย่างการทำคอนเทนต์เรื่อง สนีกเกอร์ (Sneakers) คืออะไร รองเท้าผ้าใบ หรือรองเท้ากีฬา? และ ย้อนดูอีกทีสนีกเกอร์สไตล์ญี่ปุ่น Asics Gel Kayano 14 เป็นตัวอย่างที่ผมทดลองแล้ว เห็นผลได้ชัดเจนว่า วิธีการแบ่งคอนเทนต์เป็น 2 แบบ มันข่วยให้คอนเทนต์เรากระจายได้ดีขึ้นจริง ๆ ครับ

ตัวอย่าง ผลลัพธ์การใช้วิธีคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงเนื้อหาถึงกันและกัน (Cotent + SEO) ทำให้คอนเทนต์ติดอันดับค้นหาได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง ผลลัพธ์การใช้วิธีคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงเนื้อหาถึงกันและกัน (Content + SEO) ทำให้คอนเทนต์ติดอันดับค้นหาได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง ผลลัพธ์การใช้วิธีคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงเนื้อหาถึงกันและกัน (Cotent + SEO) ทำให้คอนเทนต์ติดอันดับค้นหาได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง ผลลัพธ์การใช้วิธีคอนเทนต์แบบเชื่อมโยงเนื้อหาถึงกันและกัน (Content + SEO) ทำให้คอนเทนต์ติดอันดับค้นหาได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ถ้าเพื่อน ๆ อาจจะต้องเริ่มศึกษาการทำคอนเทนต์เชิง SEO ซึ่งบางที่อาจแนะนำเรื่องการใช้ Search Intent ในการทำคอนเทนต์ แต่จาประสบการณ์ส่วนตัว ผมมองว่าแค่ Search Intent ยังไม่เพียงพอ เราต้องรู้จักใช้ บริบท(Context) รอบตัว มาใช้ ในการทำคอนเทนต์ด้วย ซึ่งผมเขียนแชร์แนวทางการทำคอนเทนต์แบบใช้บริบทเข้ามาช่วยไว้ในบทความนี้

ถ้า Search Intent ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็น ในการทำ Content ให้ติด SEO (โดยเฉพาะในยุค 2022)
ถ้า Search Intent ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็น ในการทำ Content ให้ติด SEO (โดยเฉพาะในยุค 2022)

ส่วนที่ 3 : หลังทำคอนเทนต์

หลังทำคอนเทนต์
หลังทำคอนเทนต์

หลังทำคอนเทนต์เป็นขั้นสุดท้ายก่อนที่เราจะเผยโฉมคอนเทนต์เราต่อชาวโลก สำหรับสายวิดีโอ ขั้นตอนนี้คือ Post Production ขั้นสุดท้ายของการทำงานแล้ว คือ เรียบเรียงไฟล์ ตัดต่อ และตรวจสอบความถูกต้องตาม Storyboard / ส่วนสายอื่น ขั้นตอนนี้อาจเป็นขั้นตอนการทำกราฟิกและการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งก่อนเผยแพร่คอนเทนต์จริงนั่นเองครับ

ขั้นนี้จะเริ่มมีเรื่องโปรแกรมต่าง ๆ ในการทำคอนเทนต์เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างตัวผมเอง โปรแกรมหลักที่ผมใช้ในการทำคอนเทนต์ (ขออนุญาตยกตัวอย่างแค่ตัวหลัก ๆ ละกันนะฮะ) เช่น

  • Davinci Resolve เวอร์ชั่นฟรี ใช้สำหรับตัดต่อทำและทำสี video
  • Adobe After Effect ใช้สำหรับทำ Animation ประกอบ video
  • Adobe Photoshop และ Adobe Illustrator ใช้สำหรับการทำกราฟิกต่าง ๆ
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Davinci resolve ทำสีและตัดต่อ Video
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Davinci resolve ทำสีและตัดต่อ Video
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Adobe After Effects ทำ Animation ในคอนเทนต์
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Adobe After Effects ทำ Animation ในคอนเทนต์
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Adobe Illustrator ทำกราฟฟิกต่าง ๆ
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Adobe Illustrator ทำกราฟฟิกต่าง ๆ

ปกติแล้วโปรแกรมในการทำคอนเทนต์มีเยอะมากเลยครับ ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน อย่างสาย video บางท่านเค้าอาจจะไม่ถนัดใช้ Davinci Resolve แต่เค้าถนัดใช้ Adobe Premier Pro หรือ Final Cut ก็ได้

ทำเสร็จจาก 3 ขั้นตอนแล้ว ก็เตรียมปล่อยคอนเทนต์จริง

หลังจากที่เพื่อน ๆ ได้แนวทางการทำคอนเทนต์ จาก 3 ขั้นตอน ที่ผมแบ่งไว้แล้ว ถัดจากนี้ คือ การเผยแพร่ หรือการปล่อยคอนเทนต์ (Content publishing) จริงบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ครับ

แต่อย่าลืมว่าก่อนปล่อยคอนเทนต์ เราในฐานะ Content Creator ก็ควรต้อง วางแผนการปล่อยคอนเทนต์ (Content planning) เอาไว้ด้วย สิ่งเหล่านี้มักจะถูกทำเป็น ปฏิทิน/ตารางการเผยแพร่คอนเทนต์ (Content calendar) เพื่อไว้ใช้ดูง่า เราจะปล่อยวันไหน เวลาไหน อะไรปล่อยก่อน-หลัง เป็นต้น

ผมขอแนะนำให้อ่านเรื่องของ Content calendar จากบทความนี้ของคุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง หนึ่งในกูรูด้านการตลาดของประเทศไทย จากบทความ CONTENT CALENDAR หน้าตาอย่างไร? จำเป็นไหมที่ต้องทำ? เป็นประโยชน์มาก ๆ สำหรับ Content Creator ฮะ

เรื่องที่ Content Creator ควรรู้ แต่หลายคนมองข้าม

Content Creator ควรตรวจสอบความถูกต้องของคอนเทนต์ก่อนเผยแพร่จริง

เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยเห็นข่าวดรามาเรื่องการทำคอนเทนต์อยู่บ่อยครั้ง และมักจะจบด้วยคำที่ว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์อยู่ร่ำไป เพราะงั้นถ้าใครไม่อยากให้คอนเทนต์ที่ตัวเองทำต้องมีจุดจบแบบนั้น แนะนำให้ ตรวจสอบความถูกต้องของคอนเทนต์อีกครั้งก่อนเผยแพร่จริง ถ้าใครจำไม่ได้ว่าต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ย้อนกลับไปอ่านที่ หาข้อมูลประกอบเพิ่มความน่าเชื่อถือ จากขั้นตอนก่อนทำคอนเทนต์ นะฮะ

Content Creator อาจไม่จำเป็นต้องรู้ทุกโปรแกรมเสมอไป

สำหรับผมในฐานะ Content Creator คนนึง ผมมองว่าเราอาจไม่จำเป็นต้องรู้ทุกโปรแกรมนะฮะ แต่เน้นเฉพาะโปรแกรมที่เราถนัดและใช้งานมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการทำคอนเทนต์ก็เพียงพอแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไม่รู้เรื่องโปรแกรมอื่นเลย แนะนำว่าเรียนรู้ไว้บ้างก็ดีฮะ เผื่อในอนาคตเราต้อง Collabs หรือจำเป็นต้องใช้โปรแกรมอื่น เราจะได้พอเดาทางออกได้

Content Creator ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ ใช้เสียงของตัวเอง

ใช้เสียงในที่นี้ผมไม่ได้หมายถึงให้เราไปเป็น Content Creator สายร้องเพลงนะฮะ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพมากกว่า

คำว่า “เสียง (Voice)” ในที่นี้หมายถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Content Creator แต่ละคน เราจะเห็นว่า Content Creator ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ จะมีเอกลักษณ์เฉพาะของเค้าเองที่ไม่มีเลียนแบบได้ นั่นทำให้คอนเทนต์ของเค้านั้นแตกต่างจากคนอื่น

เรื่องนี้ผมก็ไม่ได้คิดเองเหมือนกันฮะ จากที่ผมติดตามคำแนะนำจาก Content Creator หลายท่านที่มาบอกถึงแนวทางการประสบความสำเร็จของตัวเอง หรืออย่างในแคมป์ TMRW Creators Camp 2021 ที่ผมได้เรียนกับ คุณเคน – นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ จาก The Standard ก็ได้อธิบายการแนวทางลักษณะเดียวกัน คือ คอนเทนต์ต้องแตกต่างและเป็นประโยชน์ คอนเทนต์นั้นจึงจะประสบความสำเร็จ

ตัวอย่าง Content Creator ที่เป็นทั้งไอดอลของเรา และเป็นคนที่เค้าประสบความสำเร็จในการเป็น Content Creator อย่างมากเลย คือ คุณกิ๊ฟ – Gift Lee และคุณกอล์ฟ – กอล์ฟมาเยือน ผมได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ จากทั้งสองท่านนี้เยอะมาก เพราะคอนเทนต์ทั้งสองคนนั้นต่างมีเสียงของตัวเอง และเป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย

คุณกิ๊ฟ - Gift Lee Content Creator ที่มีสไตล์การทำคอนเทนต์ไม่เหมือนใครในแบบ Artist
คุณกิ๊ฟ – Gift Lee Content Creator ที่มีสไตล์การทำคอนเทนต์ไม่เหมือนใครในแบบ Artist
คุณกอล์ฟ - กอล์ฟมาเยือน Content Creator ที่ประสบความสำเร็จจากเอกลักษณ์ในการถ่ายภาพในแบบตัวเอง
คุณกอล์ฟ – กอล์ฟมาเยือน Content Creator ที่ประสบความสำเร็จจากเอกลักษณ์ในการถ่ายภาพในแบบตัวเอง

เพราะงั้นใช้เสียง (Voice) ของตัวเองเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในการเป็น Content Creator ได้ฮะ

ผมเองก็พยายามใช้เสียงของตัวเองเพื่อทำให้คอนเทนต์ของ I Am Sneakers แตกต่าง และในตอนนี้ผมก็กล้าเรียกตัวเองว่าเป็น Sneaker Content Creator และเริ่มได้มีโอกาสร่วมงานกับหลาย ๆ แบรนด์แล้วครับ

ส่วนผมอะไร แบบไหน ยังไงบ้าง ลองตามไปอ่านได้ Content Creator Recap แชร์ประสบการณ์ / Recap ชีวิตการเป็น Sneaker Content Creator ของผมในแต่ละปี ซึ่งด้านล่างนี้ คือ ปีล่าสุดครับ



แท็กมือ ตาคุณเริ่มเป็น Content Creator แล้ว!

สำหรับผมการเริ่มต้นเป็น Content Creator ตอนแรกมันเป็นเรื่องยากมาก ๆ เลย แต่ผมก็อยากบอกกับทุกคนที่อยากเป็น Content Creator ให้ลองทำเลยครับ! ขนาดผม Introvert มาก ๆ ยังสามารถเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ได้ แถมยังได้ไปลงคอลัมน์พิเศษ TMRW Creators Camp 2021 ใน a day 248 : Content Creator อย่างที่ฝันไว้ว่าวันนึงอยากลง a day ด้วย!

แต่อย่างที่บอกฮะว่า มันจะยากตอนเริ่มต้นนี่แหละ ผมเลยกะว่าจะ เขียนแชร์ประสบการณ์การเป็น Sneaker Content Creator ของผมในทุก ๆ ปีเอาไว้ เผื่อจะเป้นประโชน์กับเพื่อน ๆ นะครับ สามารถตามไปอ่านปีว่าสุดที่ผม Recap เอาไว้ได้


การเป็น Content Creator ที่จะไปถึงขั้นประสบความสำเร็จได้ มันอาจจะใช้เวลายาวนานสักหน่อย แต่วันนึงมันจะมีโอกาสของเราครับ สำหรับผม ผมก็ถือว่าการได้ลง a day ก็ถือเป็นความสำเร็จอย่างนึงแล้ว ไว้เพื่อน ๆ ประสบความสำเร็จถึงขั้นไหน มาแชร์ให้ผมและเพื่อน ๆ ฟังกันบ้างนะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม

web form email creators content hubspot-form-creator-content

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดิจิทัลมิลเลนเนียม (DMCA :Digital Millennium Copyright Act)

IAMSNKRS – I AM SNEAKERS ไม่อนุญาตให้แก้ไข ทำซ้ำ ดัดแปลง ส่วนหนึ่งส่วนใดในเนื้อหา บทความ/บทวิเคราะห์ รูปภาพ วิดีโอ และ/หรือสื่ออื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ http://ipthailand.go.th/th/gi-011/item/คำถาม-ตอบ-สำหรับการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์.html

Tags:

IAMSNKRS ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า และอ่านนโยบายเว็บไซต์ของเราเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน facebook

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) บน twitter

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ไอ แอม สนีกเกอร์ (I Am Sneakers) แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

Save